การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดโพธาราม ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
Other Title:
Community participation as part of museum management at Wat Photharam Tumbon Sritoi Amphoe Mae Chai Phayao Province
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วัดโพธาราม ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา รูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการจัดการพิพิธภัณฑ์ เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดโพธาราม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)ผลการศึกษา ได้แก่
1. พิพิธภัณฑ์วัดโพธารามเริ่มต้นขึ้นจากแนวคิดของพระโสภณพัฒโนดม เจ้าอาวาสวัดโพธารามที่จะอนุรักษ์รูปแบบวิถีชีวิตของชุมชนในอดีต เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของทรัพยากรประเภทต่าง ๆ ที่มีอยูภายในท้องถิ่น ในระยะแรกเป็นเพียงการเก็บสะสมสิ่งของ ทั้งที่มาจากการสะสมส่วนตัว และที่มีญาติโยมนำมาบริจาคเพิ่มเติม หลังจากที่ได้มีการทำความเข้าใจ ให้ชาวบ้านและคณะศรัทธาทราบถึงคุณค่าและความสำคัญของโบราณวัตถุ เมื่อวัดโพธารามได้รับการคัดเลือกเพื่อเป็นสถานที่ตั้งศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ประจำอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา พิพิธภัณฑ์วัดโพธารามได้รับการบรรจุอยู่ในหนึ่งด้านกลุ่มงานของศูนย์ฯ มีกรอบในการดำเนินงาน อย่างเป็นขั้นตอน เป็นผลให้พิพิธภัณฑ์วัดโพธารามมีอาคารสำหรับการจัดแสดงที่พร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนและผู้ที่สนใจได้ใน พ.ศ. 2549
2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์วัดโพธาราม คือ ระบบที่ใช้เป็นเกณฑ์ ในการดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง ขาดการประชาสัมพันธ์ มีวันและเวลาเปิดปิดที่ไม่แน่นอน บุคลากรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบต่างมีงานประจำ ความร่วมมือยังคงเป็นในลักษณะของผู้นำชุมชนกบภาครัฐ ที่คอยขับเคลื่อนการสร้างชุดความรู้ให้แก่ท้องถิ่น ความร่วมมือของคนในชุมชนระดับชาวบ้านทัวไปยังไม่มีส่วนร่วมในการจัดการพิพิธภัณฑ์เท่าที่ควร
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดโพธาราม คือ ควรจัดตั้งคณะทำงานอย่างเป็นระบบให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มากขึ้น โดยภาครัฐหรือผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องคอยให้คำแนะนำ ควรมีการจัดเวทีเสวนาเพื่อเป็นการสื่อสารกิจการของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการ สร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรม และเครือข่ายทางทรัพยากรอื่น ๆ ในการที่จะบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้พิธภัณฑ์เหมาะสมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ในทุกด้าน The objectives of this research are to study the history of Wat Phottharam Museum in Tumbon Sritoi, Amphoe Mae Chai, Phayao Province, its management as well as problems and obstacles to the management of this museum in order to recommend suitable management approaches. Qualitative research methods were used in the study. The research findings are:
1. Wat Phottharam Museum in Tumbon Sritoi, Amphoe Mae Chai, Phayao Province was initiated by the idea of Phra Sophon Pattanodom, the abbot, to compile and conserve the community’s ways of life in the past to make the younger generations be more aware of the important value of the cultural resources in local region. It initially started with donated items from private collection and later from local people who had more understanding and recognition of their importance. After Wat Phottharam was selected as the Thai Culture and Community Integration (Buranakarn Wattanatham Thai Saiyai Chumchon) Center for Mae Chai District of Phayao Province, the museum building was constructed and operated under an established operation framework.
2. Major problems and obstacles in the museum’s operations include the lack of established operational continuity, the lack of proper public relations system and fixed operating hours. Moreover, the museum’s personnel are mainly occupied by their regular work. At present, cooperation with the museum is mainly initiated by community leaders and government officials who disseminate a certain set of knowledge for locals. There is inadequate community participation in the management and operation of the museum.
3. This study, therefore, proposes that a working committee with more systematic operations should be established. More community participation in the management of the museum should be recruited under the supervision and advice of the government sectors or relevant persons. A discussion forum for communication of museum activities as well as other cultural and cultural resources networks should be set up for more integrated operations. These measures will steer the museum toward being a multi-dimensional source of learning.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
493