แนวทางการสื่อความหมายของพิพิธภัณฑ์ เดอะช้างโนวเลชพาร์ค จังหวัดสุรินทร์
Other Title:
Approach to museum communication of the Chang Knowledge Park, Surin Province
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวการสื่อความหมายของนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์และการจัดการ นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ช้าง เดอะช้างโนวเลชพาร์ค จังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมี ส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโครงการพิพิธภัณฑ์ โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการสื่อความหมายและหลักการจัดทํา นิทรรศการสําหรับพิพิธภัณฑ์
ผลการศึกษาพบว่า การดําเนินงานของพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ เดอะช้างโนวเลชพาร์ค ที่มีนายสมโรจน์ คูกิจติเกษม เป็นเจ้าของ มีรูปแบบการจัดการเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนหรือพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร ผู้สร้างมีแนวคิดรวบยอด การสื่อความหมายของพิพิธภัณฑ์เสมือนเป็นสถานที่ปลูกฝังคุณธรรม กิจกรรมที่ส่งเสริมแนวคิด มุมมองด้านศาสนา ความเชื่อ ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีเรื่องราวของช้างเป็นสื่อหลักในการเล่าเรื่อง
การสื่อความหมายของนิทรรศการนี้ประกอบด้วย นิทรรศการ 7 ส่วน ใช้สื่อนิทรรศการประเภทวัตถุ 6 ส่วน ประเภทรูปภาพหรือป้ายบรรยาย 7 ส่วน ประเภทหุ่นจําลอง 3 มิติ 4 ส่วน ประเภทการสร้างบรรยากาศจําลอง 3 ส่วน และ ประเภทการแสดงพิเศษของผู้นําชมที่จัดเป็นพิเศษในบางโอกาส 2 ส่วน ซึ่งเป็นไปตามหลักของการจัดแสดงนิทรรศการ แต่ยังขาดสื่อบางประเภทที่ไม่ได้นํามาใช้ คือ ประเภทสื่อที่ผู้ชมสามารถมีกิจกรรมร่วมได้และจับต้องได้ ประเภทเครื่องมือ วีดีทัศน์ และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
การกําหนดเส้นทางเดินตามลําดับหัวข้อโดยเรียงจากเนื้อหาของวัฒนธรรมย่อยระดับท้องถิ่นไปยังวัฒนธรรม ระดับสังคมกลุ่มใหญ่หรือสากล จากการศึกษาพบว่าการบรรยายที่ต้องใช้วิทยากรตลอดเวลา อาจทําให้ผู้ชมไม่สะดวกต่อการ เลือกชมเรื่องที่ตนสนใจ อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ยังขาดกระบวนการเรียบเรียงบทบรรยายนําชม การบริหารจัดการเป็นรูปแบบ พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวทําให้ไม่มีรูปแบบคณะกรรมการ แนวความคิดในการสื่อสารจึงมีความเป็นปัจเจก ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงพบ ข้อเสนอแนะสําหรับพิพิธภัณฑ์ คือ 1) การวางแผนจัดทําสื่อประเภทคําบรรยายและบทบรรยายนําชม จําเป็นต้องอธิบายสื่อ ความหมายให้ใจความสั้นกระชับ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย 2) เสนอให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมเป้าหมายผู้ชมเฉพาะกลุ่ม หรือ นิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีความเคลื่อนไหวกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ และช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมสนใจและเข้า มาชมนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง และ 3) ควรจัดทําแบบสอบถามความรับรู้ของผู้เข้าชมจากนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการสื่อสารต่างๆในพิพิธภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น This research’s purpose is to study the approach of museum communication in the museum exhibition of the Chang Knowledge Park , Surin Province . The methodology of qualitative research was done by collecting information from documents and structured interviews. Moreover, observing participatory activities have also been done within the museum using the theory of museum communication and principles as exhibits for the museum.
This study found that the operation of Chang Knowledge Park, the museum under the ownership of Mr. Somroj KooKittikasem. The management model is a private museum. The permanent exhibition which have a concept of the meaning of the museum as a place to cultivate virtue. Activities, mainly the storytelling of the elephant, promote the concept of religious views or beliefs, arts and cultural impact.
The communication of this exhibition include exhibitions 7 topic-section, using media as Object/Artifact 6 section, Label 7 section, 3D model /scaled model 4 section, Atmosphere setting 4 section and Dramatic performance that is certain 2 section, which is the core of the exhibition. But the lack of specific medium type that is not used is the Hands-on or Interactive, Computer Multimedia, Audio Visual.
The flow of the session has been logically sorted out starting from local cultural level to the global level. The museum owner’s plan is explained by the tour guide. The study found that having the tour guide assisting at all times might consequently fade their interests. Moreover, guided tour accompanying them might cause irritation and annoyance which eventually result in visitor’s neglect in some of the detail at the exhibition. Besides, the museum still lack the coherence and cohesiveness in conducting the guided tour.
Management is a private museum with no commission model. The concept of communication is far too individualistic. For this reason, researchers have suggested that the study should do further investigation. 1) The process of planned media tour narration and subtitles after finishing exhibition was completed. This requires interpretation for short term memory. Use simple language to clarity the communication is a major critic of the museum. 2) proposed that the activities target a niche audience or temporary exhibition. This will encourage a movement activities in the museum. And encourages the audience interested and came to the exhibition and continuously. And 3) should prepare a questionnaire on the perception of visitors of the exhibition in the museum in order to be useful to improve communication in a museum more efficiently.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
673