การจัดการเชิงอนุรักษ์ตลาดลาดชะโด

Other Title:
Conservative management of Ladchado market
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ตลาดลาดชะโด ตั้งอยู่ริมคลองลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยเรือนแถวค้าขายแบบพื้นถิ่นมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศวิทยาท้องถิ่นเป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจาก ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ตลาดลาดชะโดซบเซาลงเมื่อมีการตัดถนนเปลี่ยนการสัญจรทางน้ำมาเป็นทางบกจนกระทั่ง พ.ศ. 2551 ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งประสบความสำเร็จในช่วงแรกคนในปัจจุบันกลับซบเซาลงอีกครั้ง
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาศักยภาพของตลาดลาดชะโด รวมถึงวิเคราะห์วิธีการและปัจจัยของการจัดการเชิงอนุรักษ์ตลาดลาดชะโดที่ผ่านมา เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการเชิงอนุรักษ์ตลาดลาดชะโดอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่าตลาดลาดชะโดมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยเรือนแถวค้าขายที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม มีรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและระบบนิเวศวิทยาท้องถิ่น ทั้งยังมีประเพณีท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ โดยพบปัญหาของการจัดการที่ผ่านมา คือ การจัดการแบบแยกส่วนไม่ได้บูรณาการศักยภาพอันประกอบไปด้วย สถาปัตยกรรม วิถีชีวิต ประเพณี สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศวิทยาท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ซึ่งผู้ศึกษานำเสนอแนวทางในการจัดการเชิงอนุรักษ์สถาปัตยกรรมตลาดเก่าเพื่อการท่องเที่ยว ดังนี้ 1. สร้างความตระหนัก เรื่องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมตลาดเก่า เพื่อคงคุณค่าตลาดลาดชะโดให้คงไว้ 2. รณรงค์ให้มีการรักษาสภาพแวดล้อมบริเวณคลองลาดชะโดเพื่อคงคุณค่าของระบบนิเวศวิทยาท้องถิ่นที่สมบูรณ์ไว้ 3. ฟื้นฟูวิถีชีวิต อันประกอบไปด้วยการทำประมงน้ำจืด และประเพณีท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนลาดชะโด 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมมือกับชาวชุมชนตลาดลาดชะโดในการกำหนดนโยบายสำคัญในการจัดการอย่างมีส่วนร่วม Ladchado market located by Ladchado canal, Pak-hai district, Ayudhaya, consists of vernacular shop houses those are significantly related to lifestyle, environment, and regional ecology, unlike large numbers of newly settled department stores and convenient shop at present. Ladchado market had been declined after the water transportation was replaced by land transportation. Until in 2008, it was supported by government sector to be a tourism destination which was successful at the beginning, but currently it is once again in recession.
The purposes of this study are to research the efficiency of Ladchado market and to analyze the process and the key factor of Lachado market’s conservative management in the past to propose sustainable conservative management guideline. From the study it is found that Ladchado market has the efficiency to be developed as cultural tourist attraction. It contains shop houses with architectural value and form that related to lifestyle, regional ecology, and identical regional tradition. The problem of former management is individual management without efficient integration of architecture, lifestyle, tradition, environment, and regional ecology. Thus, the guidelines of old market architecture’s conservative management for tourism are proposed as follow ; 1. To raise a realization on old market architectural conservation to sustain the values of Ladchado market ; 2. To campaign on maintaining the environment of Ladchado canal in order to keep the value of perfect regional ecology ; 3. To revive the lifestyle of inland fisheries and identical regional tradition of Ladchado community ; 4. Local authority must be in corporate with Ladchado market community people to set up important policies in participative management.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
461