แนวทางการอนุรักษ์และการจัดการตึกแถวริมถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (ช่วงแยกคอกวัว - วงเวียน ถนนสิบสามห้าง)

Other Title:
Conservation and management the commercial building on Ta-Nao street Phra Nakhon, Bangkok (Khok Wua intersection to Sip Sam Hang street)
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่องแนวทางการอนุรักษ์และการจัดการตึกแถวริมถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (ช่วงสี่แยกคอกวัว – วงเวียนถนนสิบสามห้าง) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม 2) เพื่อศึกษาปัญหา สภาพความเสียหาย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และการจัดการกับอาคารตึกแถวริมถนนตะนาว ระเบียบวิธีวิจัยคือ ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมจากเอกสารและการสำรวจอาคาร การศึกษาสภาพปัญหาโดยใช้แบบสำรวจ ปริเมินสภาพอาคาร 108 ห้อง และแนวทางการอนุรักษ์และการจัดการจากการแจกแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้เช่า 108 ชุด การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มูลนิธิมหามงกุฎฯ 1 คน กรมศิลปากร 1 คน นักวิชาการด้านการอนุรักษ์ 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลกับแนวความคิดและทฤษฎีด้านการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม การอนุรักษ์ กฎระเบียบข้อบังคับ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบคลาสสิคตะวันตกผสมผสานตะวันออกลักษณะคล้ายกับอาคารพักอาศัยกึ่งพาณิชย์ของประเทศสิงคโปร์อยู่บ้าง เป็นอาคาร 2 ชั้น ห้องแถวติดกัน 15 คูหา ทุก 3 คูหามีผนังกันไฟ ลักษณะเด่นคือด้านหน้ามีหลังคาคลุมทางเดินยาวตลอดอาคาร รูปด้านหน้ามีบัวปูนปั้น ประตูชั้นล่างเป็นประตูไม้บานเซี้ยม หลังคามุงกระเบื้องว่าว 2) สภาพความเสียหาย มีการติดตั้งป้ายร้าน ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ด้านหน้าอาคาร มีการติดตั้งเครื่องระบายความร้อนบนหลังคากันสาด มีการเปลี่ยนรูปแบบประตูหน้าต่างและพบวัสดุเสื่อมสภาพ ได้แก่ หลังคา กันสาด ผนัง ประตู และหน้าต่าง 3) แนวทางการอนุรักษ์และการจัดการขั้นตอนแรกประเมินคุณค่าพบว่ามีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์สูง อายุเกิน 50 ปี คุณค่าทางเศรษฐกิจ และประโยชน์ใช้สอยสูงยังคงเป็นร้านค้า และพักอาศัย ขั้นตอนที่สองการวางแผนการจัดการ การอนุรักษ์ฟื้นคืนสภาพมี 3 ประการ แผนการที่ 1 การฟืนคืนรูปแบบสถาปัตยกรรมภายนอก แผนการที่ 2 การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของผู้เช่า แผนการที่ 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรอบอาคาร และมีข้อเสนอแนะในการสร้างแรงจูงใจ กำหนดมาตรการควบคุมดูแลและการบริหารจัดการ The purpose of study aim to 1) to study the original architectural style 2) to study the problems Damage conditions 3) to study the conservation and management of a hundred year old historical building on Ta-Nao Street. The methodology composes of the study data collection of the original architectural style by using documentary research and exploring the historical building. Collecting data were survey assessment, using questionnaires with residences in historical building in total of 108 rooms. The samples interviewed including the representatives from Mahamakut Royal College Foundation, Department of Fine Arts, and Conservation scholars.
The data were analyzed by using concepts and theories of cultural resources management, conservation regulations and related research. The results of this study as follows :
1. The architectural style of historical building brings harmony between Western classical style and semi-commercial residential buildings similar to Singapore. The outstanding characteristic of historical building is the two story buildings connected 15 units, and each 3 units stem with fireproof walls. Features front is covered by walkway of the entire length of the building. The front of building has a molded cornice and a wooden door which is covered by the roof kite.
2. The damage conditions founded that there were the installing signs and billboards facades in front of buildings, installing a cooling canopy, deformation doors, and founding the material deterioration such as roof, walls, doors and windows.
3. Conservation and management guidelines are divided into 2 steps : First step valuable assessment founded that dating of historical buildings is more than 50-years-old and economical assessment founded that the historical buildings have been used as residential and commercial buildings in this area. Second step ; conservation and management planning is divided into 3 plans : 1) the architectural style outside historical buildings should be recovered. 2) designing the interior architectural style should be suited for rental. 3) determination of environmental management should be considered. Suggestions include providing incentive, and the controlling standard regulation, and management around historical buildings.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
394