การเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวและการจัดการตลาดน้ำคลองลัดมะยม

Other Title:
Changes from the expansion and management of Lad Mayom floating market
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวและการจัดการตลาดน้ำคลองลัดมะยม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายตัวของตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงช่วงขยายตัว (พ.ศ. 2547 – 2553) และศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการขยายตัว เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและหาแนวทางในการจัดการตลาดน้ำอย่างเหมาะสม การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ผู้บริหารตลาดน้ำ ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ ผู้ค้า ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน ตลอดจนบุคลากรในหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง และสำรวจสอบถามนักท่องเที่ยว
ผลการศึกษาพบว่า ตลาดน้ำคลองลัดมะยมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากความร่วมมือของเอกชน นำโดย คุณชวน ชูจันทร์ ก่อตั้ง พ.ศ. 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์คูคลอง และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าจากชาวบ้านชาวสวนริมคลองลัดมะยม และในละแวกใกล้เคียง ในช่วง 1-3 ปีแรก ยังไม่เป็นที่รู้จัก จนกระทั่งโครงการชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน ย่านตลาดน้ำตลิ่งชัน โดยคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ตลาดน้ำ ในปี พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ตลาดน้ำคลองลัดมะยมมีชื่อเสียงขึ้น บุคคลภายนอกที่เคยซื้อที่ดินรอบ ๆ ตลาดน้ำเก็บไว้ ได้สร้างตลาดน้ำขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2553 ปัจจุบันพื้นที่ตลาดน้ำได้ขยายกลายเป็นพื้นที่ 4 โซน มีร้านค้าทั้งหมดรวมกว่า 600 ร้านค้า โดยผู้บริหารตลาดน้ำแต่ละโซนเป็นผู้กำหนดนโยบายของตลาดเอง ส่วนคุณชวน ชูจันทร์ มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานกับผู้บริหารตลาดน้ำแต่ละโซน และประสานงานกับหน่วยงานภายนอก การมีตลาดน้ำส่งผลให้ชาวบ้านริมคลองลัดมะยมขายพืชผลทางการเกษตรได้มากขึ้นและได้ราคาสูงขึ้น ชาวบ้านเกิดความร่วมมือกันอนุรักษ์คูคลองและวิถีชีวิตชาวสวน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การปรับพื้นที่สวนเพื่อขยายที่จอดรถ
ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารตลาดน้ำทุกโซนควรร่วมมือกันบริหารตลาดแบบบูรณาการ เพื่อให้ตลาดน้ำฯ เจริญเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีการจัดพื้นที่เฉพาะจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น ควรมีการส่งเสริมสร้างจิตสำนักของคนในชุมชนให้เกิดความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตของชุมชน สิ่งนี้น่าจะเป็นจุดแข็งที่ยังรักษาความเป็นอัตลักษณ์และก่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนขึ้นได้ The case study of Klong Lad-Ma-yom floating market aims to study an impact of growth, problems and management of floating market in tourism to the sustainability of the community. The objectives aims to study the development and changes that affected to the community after established the market. The findings will lead to proper market management. The qualitative research was proposed in this study with key stakeholder’s interview, such as community leaders, the owner of the market, merchandisers, tourism firms and tourists.
This research found that Lad Ma-yom floating market was collaboratively set up by Mr.Chuan Choojan on 20th November 2004 to make a tourist destination. The other objectives of the market are to conserve of local water resources and promotion of local products. The market was not recognizing in the previous time. In 2008, the sustainable tourism community project was launched and promoted floating markets in Taling-chan area with several activities. In 2009-2010, physical development was made to the market by investors and speculators who had land acquired surrounding this area.
Now the market comprises more than 600 shops which classified into 4 zones. Each zone has its owner and independent management. Mr. Chuan acts as a mediator among zone owners and coordinates with other organizations. He tried to solve the problems such as lacking of car parking, by using public transportation. Now the water transportation was limited due to lack of piers and management.
The suggestions of this research including a cooperation of owners with the same superordinate goals, zoning for local products separately from merchandises, a campaign for local people to realize in home town and their life styles. These suggestions could strengthen this market to be unique and serve the tourism sustainability.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
776