การศึกษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ สถานที่เกาะเมืองรัตนโกสินทร์ชั้นใน
Other Title:
An enviromental study for historic architectural preservation of Rattanakosin City
Author:
Subject:
Date:
1987
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมของเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน มีผลทำให้สภาพเมืองที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีต้องเสียไปเป็นอย่างมากด้วยสาเหตุของการรื้อ ทำลาย เปลี่ยนแปลงโบราณสถาน การก่อสร้างอาคารที่ไร้คุณค่าทางสถาปัตยกรรมและไม่คำนึงถึงปัญหาทางด้านสุขอนามัย ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเติบโตของเมืองที่ขาดการเอาใจใส่อย่างจริงจังของผู้มีส่วนรับผิดชอบตลอดจนการขาดระเบียบวินัยของประชาชาในเขตเกาะเมืองรัตนโกสินทร์ชั้นใน ปัญหาดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขด้วย การศึกษาวิจัยถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาโดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ประวัติศาสตร์สถาน ผังเมือง และการสำรวจในพื้นที่จริงทางภาคสนามด้วยการจดบันทึกข้อมูลการถ่ายภาพและทำแผนผังแล้วนำมาจำแนกพื้นที่การใช้ประโยชน์บนเกาะเมือง โดยการจัดประเภทและรูปแบบโบราณสถานรวมทั้งสิ่งแวดล้อม เช่น คลองคูเมือง สะพานเก่าและสะพานใหม่ แม่น้ำ ท่าเรือ การใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจและมาตรการว่าด้วยการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์สถาน
ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า การใช้พื้นที่เกาะเมืองรัตนโกสินทร์ชั้นในเป็นไปตามยถากรรมขาดการควบคุมดูแลรักษา ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองเสื่อมโทรมมาก โดยการทำลายโบราณสถานโดยการรื้อสร้างใหม่โดยพลการและขาดคุณค่าทางศิลปสถาปัตยกรรมไม่ผสานส่งเสริมโบราณสถานที่มีอยู่ก่อน การรุกล้ำพื้นที่สาธารณะและการทิ้งสิ่งปฏิกูลอันเป็นผลทำลายความสัมพันธ์ของพื้นที่ทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมของเมือง
การปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะยึดองค์ประกอบ 5 ประการได้แก่ เส้นทาง เส้นขอบ ย่าน ศูนย์ชุมชนและภูมิสัญลักษณ์ ด้วยการย้ายตลาดปากคลองตลาดและไปอยู่ที่บริเวณอื่น เช่น ที่สี่แยกบางโพ กับควรยุบอาคารพาณิชย์ที่สร้างใหม่และไม่มีคุณค่าริมน้ำบริเวณท่าช้างวังหลวงถึงท่าพระจันทร์ ห้ามการซื้อขายบนถนนและทางเท้าบริเวณเกาะเมือง ปรับปรุงบริเวณริมแม่น้ำและทัศนียภาพเกาะเมืองฯ ด้านทิศตะวันออก รื้อฟื้นโบราณสถานที่ถูกทำลายไปโดยการสร้างขึ้นใหม่ ตลอดจนจัดกิจกรรมที่เคยมีในอดีตกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเป็นศรีสง่าแก่ชาติบ้านเมืองและเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาเกาะเมืองรัตนโกสินทร์ชั้นนอกและแหล่งโบราณสถานทั่วประเทศต่อไป อีกทั้งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่กิจการท่องเที่ยวด้วย Evironmental deterioration of the inner area of Ratanakosin City Island has extensively spoiled this city of historic and archaeological value. The unfavourable condition was brought about by demolition of and changes made to historic places and by construction of new building void of architectural value and of attention to public health. Those are problems which have resulted from the fact that the responsible persons have paid no serious attention to the manner in which the city has been growing and from the lack of didcipline on the part of the people living in the inner areas of the island. These problems should be rectified. In the research on actual causes of the problems, a study was made of data obtained from various documents such as historical records and journals, in addition to a study of town plans and a field survey which covered collection of data, taking of pictures and drawing of a plan of the city. The plan was then used in the classification of areas for different purposes on the city island. Classification was made also of historic monuments and environments such as the city island’s moats and canal, old and new bridges, the river, boat landings, areas for commercial purposes and measures for conservation of historic monuments.
Based on the findings of the study, it may be concluded that there is the lack of control on the utilization of the inner areas of the Ratanakosin City Island. This has accounted for dilapidated conditions of the city, which was caused by destruction of historic monuments that have been replaced at will by new buildings which are without value in respect of architectural arts and which do not blend with the historic monuments. Besides, invasion on public property and littering of places with garbage have had destructive effects on the physical environment of the city island.
Improvement and rectification of those problems should be based on these 5 elements, namely, paths, edges, districts, nodes and Iandmarks. Remedial measures should include the moving of Pak Klong Talat and Tha Tien markets to other places such as at Siyaek Bang Pho, dismantling of new buildings which possess no artistic value from the tracts of land between Tha Chang Wang Luang and Tha Phra Chan landings, prohibition of hawkers on the roads and footwalks in the city island, improvement of the areas and scenery along the eastern riverside of the island, and reconstruction of the destroyed historic monuments as well as restoration of various activities and facilities which existed in the past such as the use of the city’s moats, tram-cars and others. Such measures will contribute to reviving the past life of the city island and to creating orderliness and attractive environment to glorify the country. The suggested imporovements and remedies will further serve as a fine model for development of the outer area of Ratanakosin City Island and other historic monuments in other parts of the country. Those improvements will also be most beneficial to the tourist industry.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1987)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
363