การศึกษาประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ในจังหวัดปราจีนบุรี

Other Title:
A study of Hindu sculpture in Prachin Buri Province
Date:
1989
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาเฉพาะประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ที่ทำจากศิลา ที่พบภายในจังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้งที่นำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี และที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน แล้วจึงนำรูปแบบของประติมากรรมที่ได้มาทั้งหมดมาศึกษา ในการศึกษาได้พบว่า รูปแบบของประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์จากจังหวัดปราจีนบุรี สามารถจำแนกรูปแบบได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพในศาสนา ซึ่งมีทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย ได้แก่
1.1 ประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพในลัทธิไศวนิกาย ได้แก่ พระอุมา เทพีมหิษาสุรมรรทินี พระคเณศ
1.2 ประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพในลัทธิไวษณพนิกาย ได้แก่ พระวิษณุจตุรภุช
กลุ่มที่ 2 ประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์ในศาสนา ซึ่งมีทั้งศิวลึงค์แบะตรีศูล สำหรับศิวลึงค์สามารถแบ่งออกได้ตามรูปแบบดังต่อไปนี้
2.1 ศิวลึงค์แบบสร้างติดกับฐานโยนี
2.2 ศิวลึงค์แบบแยกออกจากฐานโยนี
กลุ่มที่ 3 ประติมากรรมที่เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ ทับหลัง สามารถแบ่งออกตามรูปแบบได้ดังต่อไปนี้
3.1 ทับหลังสลักลวดลายพันธุ์พฤกษาผสมกับภาพบุคคลและสัตว์
3.2 ทับหลังสลักลวดลายพันธุ์พฤกษาผสมกับภาพเล่าเรื่องในคติทางศาสนาพรมหมณ์
ผลจากการศึกษารูปแบบของประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ในจังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ทราบถึงอิทธิพลของศิลปะจากประทศเพื่อนบ้าน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะแรก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-14 ได้แก่ พระวิษณุจตุรภุช พระคเณศ พระอุมา ศิวลึงค์ และทับหลัง
ระยะที่สอง ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-17 ได้แก่ ศิวลึงค์ และทับหลัง
จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ในจังหวัดปราจีนบุรี กับประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ในภาคใต้และที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นั้น พบว่า ลักษณะและรูปแบบของประติมากรรมต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกลุ่มเทวรูปพระวิษณุจตุรภุช ซึ่งอาจจะมีรายละเอียดของรูปทรงแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาวะและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเหล่านั้น จึงแสดงว่า แหล่งโบราณคดีทั้ง 3 แห่ง มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว This thesis presents the result of the study of Brahmanical sculptures, made of stone in Prachin Buri Province, which are displayed in The National Museum, Prachin Buri Museum and also in private collections.
From the study, these Brahmanical sculptures can be divided into 3 main groups:
Group 1. Religious image belonging to the Saivism and Vaishnaism.
1.1 Saiva images,i.e. Goddess Uma, and Kanesa.
1.2 Vaishnava images, i.e. Visnu.
Group 2. Religious symbol, i.e. Siva – linga and Trisula. The Siva – lingas are subdivided into 2 types :-
Type 1. Siva lingas without Yoni.
Type 2. Siva lingas with Yoni.
Group 3. Architectural fragments such as Lintels which are subdivided into 2 types :-
Type 1. Lintels depicting Floral designs with scenes on worldly life.
Type 2. Lintels depicting Floral designs with scenes on Brahmanical ieities.
The study of the Brahmanical sculptures in Prachin Buri Province, Leads to conclusion that the previous inhabitants here had good relationship with Cambodia.
- With Combodia during the Pre – Angkorien Period (C.11-14 B.E.), as seen by, the images of Visnu, Genesa, Goddess Uma. Siva – linga and Lintel.
- With Combodia during the Angkorien Period (C.14-17 B.E.) as seen by, the images of Siva – linga and Lintel.
A comparation study on the Brahmanical sculptures found from Prachin Buri Province, from the South of Thailand and from Sri Thep indicates also a good relationship among the three archaeological site during that period.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
212