การศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเรือนแถวไม้ตลาดเก่าหนองจอกซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและสังคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา
Other Title:
A study on the physical environment of the Nong Chok old market wooden shophouses in realtionto the people's way of living and society for conservation and development purposes
Author:
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่งผลให้พื้นที่โดยรอบมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาดังกล่าว ภาครัฐจึงได้จัดทำโครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานฯ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา โดยเสนอให้มีการอนุรักษ์ชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ประกอบด้วยตลาดที่ตั้งอยู่โดยรอบ 5 แห่ง ผู้วิจัยได้เลือกตลาดเก่าหนองจอกเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัย เพราะเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีวิถีชุมชนที่ต่อเนื่อง ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวได้รับการประเมินว่ามีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพของเรือนและประเภทของกิจกรรมการใช้งาน
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับจุดกำเนิด พัฒนาการ ความสัมพันธ์ ของสถาปัตยกรรมกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต เศรษฐกิจชุมชน และคติความเชื่อ ภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรม แนวโน้มการดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวความคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาเรือนแถวไม้ตลาดเก่าหนอกจอกต่อไป
วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการค้นคว้าจากเอกสารและลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลภาคสนาม
ผลการวิจัยพบว่า
ลักษณะทางกายภาพของเรือนไม้ตลาดเก่าหนองจอกเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต
เรือนแถวไม้ตลาดเก่าหนอกจอกมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและกิจกรรมการใช้สอยพื้นที่ แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงดำรงอยู่คือวิถีชีวิตที่ต่อเนื่องภายในชุมชน
แนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาคือการรักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อสภาพแวดล้อม รักษา วิถีชีวิตให้คงความต่อเนื่อง และนำภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมมาใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารให้คงอยู่สืบไป Construction of Suvarnabhumi International Airport has tendency to cause impacts on the vicinity. Thus the government had set up a city planning project by proposing conservation of community and vernacular architecture of 5 market places The author chose the Nong Chok old market for a case study since it had a long historical record possessed a unique architecture and had a long continuous ways of living within community Also the architecture there was evaluated to be under a threat of changes both in physical characters and functional activities
Research objectives were to answer questions about origin and development of the community relationship of architecture and is physical environment way of living economy and believe local wisdom for architecture creativity trends for existence and changes and also to find means for conservation and development of this heritage.
The study were carried out through documentary research and field surveys.
The results of studies were summarized in the following.
Physical characters of the shophouses of the old-market in Nong Chok had been evolved from is relationships with physical surrounding and community way of living.
Wooden shophouses in the market were under threat of developments Tendencies were that the shophouses would undergo changing with time both in physical and functional uses of space But what seemed to persist after a long of time were people way of living.
Conservation and development concepts are to maintain relationship between community way of living and its surroundings and using local wisdom for restoration and adaptation for sustainability of the heritage.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Collections:
Total Download:
177