สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าวแถบลุ่มน้ำยมและน่านตอนล่าง

Other Title:
Vernacular architecture in rice culture on southern part Yom and Nan basin
Author:
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศโดยรวมของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของชาวนา ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมข้าวทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม แล้วสำคัญคือศึกษาเนื้อหา รายละเอียดของสถาปัตยกรรมอันเนื่องมาแต่วัฒนธรรมข้าว
โดยประมวลความรู้ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งใช้วิธีการรังวัด สังเกต และสนทนากับชาวบ้าน ประกอบกับการเก็บความเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยใช้พื้นที่ของชาวบ้านวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ให้เป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าวแถบลุ่มน้ำยมและน่านตอนล่างเป็นพื้นที่กรณีศึกษา โดยยึดกรอบความคิดทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และนิเวศวัฒนธรรมในการทำความเข้าใจกับสิ่งปลูกสร้างอันไร้สถาปนิก
จากผลการศึกษาพบว่า
รูปแบบของสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าวแถบลุ่มน้ำยม และน่านตอนล่างทั้งในสวนของห้างนาและยุ้งข้าว เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีกับสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิต
พลวัตของสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าว ห้างนาและยุ้งข้าว เกิดขึ้นจากการผสมผสานกันระหว่างอดีตและปัจจุบัน กล่าวคือการเลือกใช้วัสดุ การปรับปรุงซ่อมแซมและสิ่งที่เมเติมเข้ามา ณ ปัจจุบันนั้น สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอันเนื่องมาจากความแตกต่างของวิถีชีวิตและความหลากหลายในความคิดของผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม
สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าว ห้างนาและยุ้งข้าว มีแนมโน้มการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนรูปแบบลักษณะทางกายภาพ และกิจกรรม แต่สิ่งสำคัญที่ยังดำรงอยู่ คือ การเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นเป็นหลักในการปลูกสร้างสถาปัตยกรรม The purposes of this research were to study all surroundings and ecologies of the relationship between areas and farmers domiciles and study the particulars rice culture though the concrete object and the abstract The important purpose was to study the contents and the particulars in rice culture.
Through field survey and research in the province within the Southern past Yom and Nan basin Phitsanulok This study employs the framework of vernacular architecture and cultural ecology in order to understand and architecture that has always been built without any architects.
The research results were as follows
1 Instructional model of vernacular architecture in rice culture on Southern part Yom and Nan basin whole the granary and the field slud to occur from the relationship of surroundings and the way of life.
2 The dynamics of architecture in rice culture (the granary and the field slud) to occur from the blend between past and present which were the selection of building-materials the repare and the present supplement to reflect the period of time transformation of architecture arising from the different way of life and the various thinking of people who live common society.
3 The vernacular architecture in rice culture (the granary and the field slud) have tendencious transformation whole the physical from of instructional model and the activity but the permanent important is the selection of national materials in district area to the basis of building architecture.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Collections:
Total Download:
320
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นType: Thesisภาคภูมิ คำมี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)“พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน: กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เป็นวิทยานิพนธ์ที่มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฮือนชาวนาอีสาน และวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ศึกษา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ... -
พุทธสถานอุทยานการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสาน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมไทยType: Thesisอนุสรณ์ บุญชัย; Anusorn Boonchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007) -
การศึกษาตึกแถวบริเวณย่านการค้าเก่าในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทย
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisธนรัชต์ ถาวโรจน์; Dhanaraj Thavaroj (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจถึงมูลเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมตึกแถว และพัฒนาการของรูปแบบในแต่ละย่านการค้าเก่าของชุมชนในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาด้านพื้นที่บริเวณถนนอาเนาะ ...