การสร้างคู่มือแนะนำเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา
Other Title:
The creation of a guide to Ayutthaya archival document
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างคู่มือแนะนำเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและลักษณ์เนื้อหาของเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา และสร้างคู่มือแนะนำเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยาที่จัดเก็บและให้บริการ ณ หอสมุดแห่งชาติ ประกอบด้วย จารึก จำนวน 70 รายการ และเอกสารตัวเขียน จำนวน 24 รายการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบเก็บข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา และหลักเกณฑ์การลงรายการเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา พบว่า เอกสารไม่มีการตั้งชื่อเรื่องโดยผู้จัดทำเอกสาร วัสดุรองรับในการบันทึกเอกสาร ที่มีความคงทนถาวร ได้แก่ โลหะ ศิลา ไม้ ปูน ดินเผา ซึ่งมีแผ่นทองมากที่สุด ส่วนวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ได้แก่ กระดาษลักษณะต่าง ๆ ซึ่งมีสมุดไทยดำมากที่สุด ผู้รับผิดชอบต่อการจัดทำเอกสารประเภทจารึกเป็นพระสงฆ์มากที่สุด และประเภทเอกสารตัวเขียนเป็นขุนนางมากที่สุด ชื่อเมืองที่จัดทำเอกสารทั้งจารึกและเอกสารตัวเขียนมากที่สุดคือ อยุธยา เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดเป็นจารึกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 1917 ส่วนเอกสารที่ใหม่สุดเป็นเอกสารตัวเขียนจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2326 เอกสารตัวเขียนบางงรายการมีภาพประกอบ และบางรายการมีตราประทับ ภาษาที่ใช้บันทึกเอกสารทั้งจารึกและเอกสารตัวเขียนมากที่สุด คือ ภาษาไทย จารึกใช้อักษรขอมบันทึกมากที่สุด เอกสารตัวเขียนใช้อักษรไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ในการบันทึกมากที่สุด ผลการศึกษาลักษณะเนื้อหาของเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยา พบว่า เนื้อหาจำแนกได้ 10 กลุ่มเรื่อง คือ การพระราชทานสมณศักดิ์หรือบรรดาศักดิ์ การประกาศกิจกรรมในพระศาสนา หลักธรรม/คาถา การทำสัตยประติชญา การติดต่อราชการ บันทึกเหตุการณ์สำคัญ การระบุหน้าที่ราชการเฉพาะประเภท การบอกชื่อสิ่งของ ทำเนียบนามและสนธิสัญญา โดยเอกสารประเภทจารึกมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประกาศกิจกรรมทางศาสนามากที่สุด และประเภทเอกสารตัวเขียน มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบันทึกเหตุการณ์สำคัญมากที่สุด คู่มือแนะนำเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยาที่สร้างขึ้นเป็นเอกสารเล่มที่รวบรวมรายการเอกสารจดหมายเหตุไทยสมัยอยุธยาที่ให้บริการในหอสมุดแห่งชาติ โดยให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของเอกสารแต่ละรายการตาม ISBD(A) รวมทั้งสาระสังเขปและคำสำคัญจัดเรียงตามประเภทเอกสารคือจารึกและเอกสารตัวเขียน The research study entitled “The Creation of a Guide to Ayutthaya Archival Documents” intends to examine the physical appearance and subject of Ayutthaya archival documents and create a guide to Ayutthaya archival documents. The subjects/samples used in this research are Ayutthaya archival documents that are kept and provided at the National Library of Thailand which are consisted of 70 inscriptions and 24 manuscripts. The research instruments are Ayutthaya archival documents analysis form and Ayutthaya archival documents cataloguing rules. The study of physical appearance of Ayutthaya archival documents reveals that documents were not titled by persons responsible for the documents. Permanent materials for recording documents were some kinds of metal, stone, wood, lime, baked clay stele, of which gold plates were the most common material. Non-permanent materials were made of various kinds of paper of which traditional Thai books (Samut Thai Dum) were the most prevalent material. A good number of monks were responsible for inscriptions while aristocrats were commonly responsible for manuscripts. Ayutthaya was the most regular name of city that created both inscriptions and manuscripts. The oldest document was an inscription created in 1374 A.D. The most recent document was a manuscript created in 1783 A.D. Some manuscripts found illustrations and/or sealed. The most regular language for recording both inscriptions and manuscripts was Thai language. Khom Thai script was the most common script found in inscriptions while Thai Thonburi-Rattanakosin script was normally recorded in manuscripts. The study of subject of Ayutthaya archival documents found 10 types of subject ; the honorific rank nobility rank conferred by the king, Buddhist Activities announcement, Dhamma/verses, oath-taking, government service contacts, recording of important events, identifying specified government services, identifying material, directory and treaties. The records of Buddhist activities announcement were commonly found in inscriptions while the majority of manuscripts were the records of important events. A Guide to Ayutthaya Archival Documents collects the records of Ayutthaya archival documents that are provided in the National Library. It gives the bibliographical description of each record based on ISBD(A) including the abstract and keywords. Each record is categorized according to the types of document which are inscriptions and manuscripts.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร
Collections:
Total Download:
244