การพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุ สังกัดสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

Other Title:
The personnel development for archival practitioners who work in the office of the national archives
Author:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการประเมินตนเอง ความต้องการพัฒนาตนเอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินตนเอง และความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุ สังกัดสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำ สังกัดสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุและกลุ่มสนับสนุนวิชาชีพจดหมายเหตุ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่า t – test และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. โดยภาพรวมกลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุประเมินตนเองอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มสนับสนุนวิชาชีพจดหมายเหตุประเมินตนเองอยู่ในระดับน้อย เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการประเมินตนเองของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า แตกต่างกัน 6 รายการ โดยกลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุประเมินตนเองสูงกว่ากลุ่มสนับสนุนวิชาชีพทั้ง 6 รายการ
2. บุคลากรทั้ง 2 กลุ่ม มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาตนเองและความคาดหวังที่ได้จากการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากเหมือนกัน ความต้องการพัฒนาตนเอง พบว่า กลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุมีความต้องการพัฒนาตนเองในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบริการ และด้านเทคโนโลยี ระดับปานกลางมี 1 ด้าน คือ คุณลักษณะส่วนตัว กลุ่มสนับสนุนวิชาชีพจดหมายเหตุ มีความต้องการพัฒนาตนเองในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะส่วนตัวและด้านบริการ ระดับปานกลางมี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการและด้านเทคโนโลยี ด้านรูปแบบการพัฒนาตนเอง พบว่า รูปแบบที่บุคลากรทั้ง 2 กลุ่ม มีความต้องการมากที่สุด คือ รูปแบบการฝึกอบรม และรูปแบบที่มีความต้องการน้อยที่สุด คือ รูปแบบการศึกษาต่อ
3. การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการพัฒนาตนเองทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ด้านจุดมุ่งหมายการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน 2 รายการ ด้านความคาดหวังที่ได้จากการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน 2 รายการ ด้านความต้องการพัฒนาตนเอง พบว่า แตกต่างกัน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ 3 รายการ ด้านบริการ 1 รายการ โดยกลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุมีความต้องการพัฒนาตนเองสูงกว่ากลุ่มสนับสนุนวิชาชีพจดหมายเหตุทุกด้านและทุกรายการ
4. การประเมินตนเองของกลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุมีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนว่ากลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองมาก ในขณะที่การประเมินตนเองของกลุ่มสนับสนุนวิชาชีพจดหมายเหตุมีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาตนเองในระดับปานกลาง สะท้อนว่ากลุ่มสนับสนุนวิชาชีพจดหมายเหตุมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองน้อยกว่ากลุ่มวิชาชีพจดหมายเหตุ The objective of this research was to study and compare self evaluation, the need for self development, and to study the correlation between self evaluation and the need for self development of the archival personnel from the Office of the National Archives.
The population used in this research was government officials and employees of the Office of the National Archives, totaling 70 people, divided into two groups, which were archival professionals and archival profession support. The tool used in collecting data was questionnaire. And the statistics used in analyzing data were frequency, percentage, t-test value, and correlation value.
The result of the research showed that :
1. In general, the archival professionals self-evaluated in the medium level, while the archival profession support self-evaluated in the low level. In testing the mean difference of self evaluation of the two groups, it was found that there were 6 areas of differences in which the archival professionals self-evaluated higher than the archival profession support.
2. Personnel of both groups had the same high level of goal and expectation from self development. It was found that there were 3 areas of self development in which the archival professionals wanted in the high level, which were academic, service, and technology. There was 1 area of self development in the medium level which was personality. For archival profession support group, it was found that there were 2 areas of self development in high level, which were personality and service. There were 2 areas in the medium level which were academic and technology. It was found that the form of self development most wanted by both groups of personnel was training and the form of self development least wanted was further education.
3. In testing the mean difference of the need for self development of both groups, it was found that there were 2 items of difference in goal, 2 items of differences in expectation from self development. There are 2 areas of differences in self development which were 3 items from academic, and 1 item from service. The archival professionals had higher level of need for self development than the archival profession support group in all areas and items.
4. For the archival professional group, there was a low level of correlation between self evaluation and the need for self development which reflected that the archival professional group was very enthusiastic for self development. For the archival profession support group, there was a medium level of correlation between self evaluation and the need for self development which reflected that the archival profession support group was less enthusiastic for self development than the archival professional group.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร
Collections:
Total Download:
415