ปัจจัยความต้องการด้านกายภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลต่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ตลาดเก่านางเลิ้ง
Other Title:
Shop owners' and visitors' preferences on physical elements affecting future improvement plan of the historic Nang Lerng old market community
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความต้องการด้านกายภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลต่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ ย่านตลาดเก่านางเลิ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อรูปแบบ การพัฒนาด้านกายภาพย่านตลาดเก่านางเลิ้งในอนาคต ศึกษารูปแบบการพัฒนาด้านกายภาพในอนาคตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่านตลาดเก่านางเลิ้ง และเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์ย่านตลาดเก่านางเลิ้ง โดยการสอบถามด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 84 รายเพื่อทราบความต้องการของรูปแบบการพัฒนาในอนาคต และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษา จำนวน 3 ท่าน เพื่อทราบผลดีผลเสียของรูปแบบการพัฒนาในอนาคตที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่ต้องการ
จากการสอบถามรูปแบบการพัฒนาของผู้ประกอบการค้าและผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ส่วนใหญ่ได้เลือก รูปแบบการพัฒนาที่ 2 ซึ่งเป็นการพัฒนาระดับปานกลาง อันประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างอาคารที่จอดรถและก่อสร้างอาคารพักอาศัยประเภทอาคารชุดแทนบ้านพักที่ถูก รื้อถอน
2. โครงการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยในบริเวณอาคารตลาดนางเลิ้ง โดยจัดให้มีที่ว่างภายในอาคาร
3. โครงการปรับปรุงรูปด้าน (Fucale) อาคารอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
4. จัดให้มีซุ้มบริเวณทางเข้าตลาดด้านถนนนครสวรรค์ 2 แห่ง
การศึกษาพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ต้องการรับภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่มาก ต้องการพัฒนาในสิ่งที่เห็นว่าจำเป็นก่อน โดยให้ความสนใจในเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่อยู่อาศัย ตลอดจนคำนึงถึงสิ่ง อำนวยความสะดวกต่อการค้า และพยายามที่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนางเลิ้งด้วย ในด้านการมี ส่วนร่วมของประชาชนในย่านตลาดเก่านางเลิ้งอยู่ในขั้นให้คำปรึกษาและยอมร่วมลงทุน อำนาจการตัดสินใจจะ ฟื้นฟูอยู่ที่เจ้าของที่ดิน การพัฒนาย่านตลาดเก่านางเลิ้งให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องมีการพัฒนาเชื่อมโยงในด้าน กายภาพ ด้านการตลาด และด้านชุมชน โดยจะต้องอยู่ในกรอบของการอนุรักษ์ และทุกฝ่ายต้องได้รับความเป็น ธรรมในด้านการลงทุน จึงจะทำให้การพัฒนาพื้นที่ตลาดเก่านางเลิ้งประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาด้านกายภาพต้องพัฒนาให้ครบทั่วทั้งย่านตลาดเก่านางเลิ้ง ไม่พัฒนา เฉพาะบางส่วนของย่านตลาดเก่านางเลิ้ง และความไม่สมบูรณ์ของกลุ่มอาคารอันทรงคุณค่าที่แปลกแยก ควร พัฒนาให้คืนกลับมามีสภาพที่สอดคล้องกับอาคารที่ทรงคุณค่า เนื่องจากสภาพทางกายภาพที่มีความสมบูรณ์ย่อมส่งผลให้ย่านตลาดเก่านางเลิ้งมีความเป็นเอกลักษณ์สามารถดำรงบทบาทท่สำคัญไว้ได้ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการ The purpose of this research is to study and analyze stakeholders' preferences on types of physical improvement in the Historic Nang Lerng Old Market community. The stakeholders in this community are two main groups of people - shop owners and visitors affected by Improvement plan implemented by government authorities. Opinions and preferences on types of physical improvement of the sample from the two groups were collected using questionnaire. Three alterative improvement schemes were developed from combinations of physical improvements needed by the stakeholders. Each scheme considers the size of the budget and the financial responsibility of the stakeholders as the major factors.
The stakeholders reviewed and compared the schemes, then selected one. The selected scheme was reviewed by experts and authorities Involved. The majority of the stakeholders chose the second scheme, which is a moderate improvement with moderate budget to serve their immediate needs while preserving the community's identity. The selected scheme comprises four projects:
1) Demolishing some shop houses for a new parking garage to accommodate
increasing need for parking. On top of the garage is a residential condominium tower for those whose houses are demolished.
2) Renovating the market building to include indoor public space.
3) Refinishing and repairing old building facades by removing haphazard facade additions and repainting.
4) Constructing two new gateway pavillion on Nakornsawan Road.
The finding in this study shows that, although the shop owners do not own the land, they demand and participate heavily in improvement of the community specially to maintain order and cleanliness and to preserve the community's historical identity that attract visitors. The land owner who has the authority to implement the improvement projects needs to create a strong collaboration with the shop owners and residents and to develop an appropriate community development strategy. The development strategy must consider improvements in physical and environmental conditions, marketing to promote the area as a tourist destination, and socio-economic development. However, the development must emphasize the goals to preserve the historical value of the entire area and to support sustainable and just development. The author recommends a comprehensive plan to revitalize the old market characteristics-not only preserving the historical buildings left in the community but also reconstructing some buildings that match the historical ones and to replace haphazard building additions and mismatch modern buildings. The goal is to strengthen the area's historic identity and to enhance its unique quality of an old market that attracts more visitors.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
179