วรรณศิลป์และภาพสะท้อนวัฒนธรรมเขมรในรามเกียรติ์ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ เล่มที่ 1-10

Other Title:
The literary art and the reflection of Khmer culture in Ramakerti, l'institut bouddhique version, vol.1-10
Author:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีฉบับหลักเรื่องรามเกรฺติ์ เล่มที่ 1 – 10 ซึ่งสถาบันพุทธศาสนบัณฑิตย์ กรุงพนมเปญ พิมพ์เผยแพร่ เพื่อยืนยันว่ารามเกรฺติ์เป็นวรรณคดีฉบับสำคัญฉบับหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผลการศึกษาที่มาพบว่าเนื้อความเรื่องรามเกรฺติ์ เล่มที่ 1 – 10 ส่วนใหญ่น่าจะมาจากรามายนัมของกัมพัน และหิกายัติ ศรีรามของมลายู
รูปแบบรามเกรฺติ์มีลักษณะเป็นบทเพื่อการแสดง กลวิธีการแต่งมีอัตลักษณ์ที่แสดงความเป็นเขมร โดยเฉพาะการใช้ฉากตามธรรมชาติของเขมร และให้พระรามมีลักษณะผสมผสานระหว่างพระวิษณุอวตารของพราหมณ์ และพระโพธิสัตว์ของพระพุทธศาสนา นอกจากนั้น ยังมีกลวิธีการแต่งแบบมหากาวยของวรรณคดีสันสกฤต คือ เป็นเรื่องแสดงวีรกรรมของพระรามซึ่งเป็นกษัตริย์นักรบ เทพนารายณ์อวตารและพระโพธิสัตว์ร่วมกัน มีการใช้พรรณนาโวหารที่งดงามโดดเด่น โดยเฉพาะบทพรรณนาบ้านเมือง กองทัพ การรบ ธรรมชาติ และตัวละคร
ด้านวรรณศิลป์พบว่าเกิดจากลักษณะของมหากาพย์ กวีใช้กลวิธีสรรคำทำให้เกิดเสียงไพเราะลักษณะต่าง ๆ คือ การเล่นคำสัมผัส การเล่นคำเป็นชุด การเล่นคำซ้ำ การเล่นคำซ้อน ในเรื่องภาพพจน์พบว่ากวีนิยมสร้างภาพพจน์เปรียบเทียบประเภทอุปมาและอุปลักษณ์ ภาพพจน์แบบอติพจน์เพื่อเน้นความ และในเรื่องรสวรรณคดีพบว่า เรื่องรามเกรฺติ์มีครบ 9 รส แต่เน้นวีรรส
ผลการวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมของเขมรพบว่าเรื่องรามเกรฺติ์สะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน และความเชื่อตามคติโบราณและค่านิยมของเขมร วัฒนธรรมทางสังคมที่เด่นเป็นส่วนหลักของเรื่องคือสถาบันกษัตริย์ ทำให้วัฒนธรรมหมวดย่อยอื่น ๆ ก็ล้วนเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น
รามเกรฺติ์ เล่มที่ 1 – 10 เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่แสดงให้เห็นการหลอมรวมอย่างงดงามของวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ดำรงอยู่ในสังคมเขมร The purpose of this study is to analyze the literary values of the Ramakerti vol. 1 – 10, the khmer classical literature published by L’Institut Bouddhique of Phom Penh to attest its importance as one of the valuable Ramayana versions of Southeast Asia.
The results of the study shows that most of the content of the Ramakerti vol. 1 – 10 has Kamban’s Rāmāyamam and Hikayat Seri Rama as its prototypes. Regarding the writing styles, the Ramakerti vol. 1 – 10 was written in a dance drama style. Its writing techniques represent Khmer identity, especially the use of natural environment in setting, and making Rama as the synthesis of Vishnu incarnation of Brahmanism and Buddhist Bodhhisattva. Moreover, the text was also composed in the style of Sanskrit Mahakavya depicting the heroic Rama, the warrior. The descriptions are distinguishing, especially on towns, cities, armies, wars, nature, and characters.
Its literary values are originated from the Mahakavya characteristics especially in words selection to make harmonies of sound such as rhymes, reduplications, iterations, puns, and patterns of word. An analysis of figure of speech indicates that simile, metaphor, and hyperbole were used for emphasis. Nine literary Rasa were all found, but the heroic is the most emphasized.
In terms of the culture analysis, the Ramakerti reflects the thoughts and beliefs of Khmer people which were the mixture of Brahmanism and Buddhism, both Theravada and Mahayana, as well as their traditional beliefs and values. The most prominent cultures found in this epic are those related with the Khmer monarchy. The other supportive cultures found are also related to the same institute.
Ramakerti vol. 1 – 10 is a literary creation reflecting the fusion of various cultures existing in Khmer society.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภาษาเขมร
Collections:
Total Download:
331