A comparative study of the concept "Truth" in the Upanisads and the Sutta-Pitaka
Author:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดร่วมเกี่ยวกับความจริง (สันสกฤต สตฺย, บาลี สจฺจ) ในคัมภีร์อุปนิษัทและพระสุตตันตปิฎก
เป็นที่ยอมรับกันว่า คัมภีร์อุปนิษัทที่เก่าแก่และพระพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่มต่างมีแนวคิดทางปรัชญาเป็นของตนเอง ความปรารถนาที่จะแสวงหาสิ่งที่เที่ยงแท้ (นิตฺย) ซึ่งปรากฏให้เห็นบ่อย ๆ ในคัมภีร์อุปนิษัทที่เก่าแก่คงจะมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิเทวนิยมที่สืบต่อกันมาจากวรรณกรรมพระเวทในทางตรงกันข้าม พระพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่มก็มีจุดกำเนิดในกลุ่มนักคิดใหม่ ๆ ที่เรียกว่า “ศรมณะ/สมณะ” ซึ่งส่วนมากไม่เชื่อในลัทธิเทวนิยม บางพวกยึดถือลัทธิวัตถุนิยม บางพวกยึดถือลัทธิผัสสาการนิยม และบางพวกก็ยึดถือลัทธิวิมตินิยม
แต่ในการวิจัยนี้พบว่าเรื่องการแสวงหาความจริงนั้น พระพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่มถือตามหลักการของคัมภีร์อุปนิษัทที่เก่าแก่อย่างแท้จริง ประการแรก ในคัมภีร์ทั้งสองระบุว่า ความรู้แจ้ง (สันสกฤต ชฺญาน, บาลี ปญฺญา) เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาความจริง ประการที่ 2 ความรู้แจ้งนี้ หมายถึง “transcendental knowledge” หรือ “universal knowledge” กล่าวคือ ความรู้แจ้งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจโลกที่ไม่ยั่งยืนทั้งหมด หรือทำให้โลกที่ไม่ยั่งยืนทั้งหมดปรากฏออกมา ประการที่ 3 คัมภีร์ทั้งสองกล่าวถึง การดับหรือการทำลายของโลก เมื่อโลกที่ไม่ยั่งยืนถูกทำลายโดยสมบูรณ์ สภาวะที่แท้จริงของโลกก็จะปรากฏออกมา ประการที่ 4 ในที่สุดแล้ว ความรู้ที่แท้จริง ก็คงจะหมายถึง “การเป็น” หรือ “การกลายเป็น” นี้คือความหมายที่แท้จริงของหนทาง (สันสกฤต มารฺค, บาลี มคฺค)
แม้กระนั้นก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงได้ปฏิรูปปรัชญาอินเดียที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ เพราะคำสอนของพระองค์ได้แพร่หลายและมีอิทธิพลไปทั่วโลกในยุคหลังต่อมาซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้ปรัชญาใหม่โดยการเอาชนะปรัชญาของพวกสละโลก (สันนยาส) The purpose of this comparative study is to find out a philosophical trend underlying the Upanisads and Sutta-pitaka by analyzing the concept “truth” (Skt. Satya, Pāli sacca).
Admittedly, the old Upanisads and early Buddhism have their own philosophical backgrounds. A longing for the eternal (nitya), which is seen everywhere in the old Upanisads, is not irrelevant to the theistic tendency inherited from the Vedic literatures. On the other hand, early Buddhism has its origin among a new group of thinkers, called “Sramanas/Samanas,” Who are mostly attheists ; some are materialists or sensationalists, and some are sceptics.
However, this study concludes that, in regard to the pursuit of truth, early Buddhism is an authentic follower of the old Upanisads : Firstly, in both of them, “intuitive knowledge” (Skt. Jñāna, Pali paññā) is a clue to the pursuit of truth. Secondly, “intuitive knowledge” is understood as “transcendental knowledge” or “universal knowledge,” namely, this knowledge is that through which this ephemera world is established. Thirdly, both of them speak of the destruction of the world. When this ephemeral world is completely destroyed, the true state of the world is revealed. Fourthly, ultimately true knowledge or the true intuitive knowledge must imply “becoming.” This must be a true meaning of “way” (Skt. mārga, Pāli magga).
Besides, the Buddha is still a reformer of Indian orthodox philosophy, because his teaching brings about a great influence in the world, showing the possibility of a new philosophy through overcoming asceticism (samnyāsa).
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
Collections:
Total Download:
533