วัดพระธาตุดอยเล็ง จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่น:
Wat Phrathatdoileng, Phrae Province
หัวเรื่อง:
วันที่:
2005
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมไทยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการออกแบบที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะทางสถาปัตยกรรมของชุมชน และข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมในล้านนา รวมถึงใช้สอยพื้นที่ของวัดต่างๆ ภายใต้บริบททางสังคมในปัจจุบันซึ่งสามารถสรุปสาระได้ 3 ประการ ดังนี้
1. จากการศึกษาภาพรวมด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม บทบาทและหน้าที่ของพระพุทธดอยเล็งกับพระธาตุช่อแฮ พบว่า ความมุ่งหมายเดิมที่พระธาตุดอยเล็งไม่ได้ถูกสร้างเป็นวัดพร้อมกับวัดพระธาตุช่อแฮโดยประสงค์จะให้เป็นเพียงอนุสรณ์สถานของพระธาตุช่อแฮเท่านั้น การออกแบบปรับปรุงพระธาตุดอยเล็งจึงเน้นการออกแบบที่เชื่อมโยงเรื่องราวจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันและบอกผ่านเรื่องราวสู่อนาคตได้
2. การศึกษากิจกรรมทางประเพณีต่างๆ ในรอบปีของชุมชนในพื้นที่ ส่งผลให้ที่ว่างที่เกิดขึ้นในโครงการมีความสัมพันธ์ที่ว่างทางประเพณีของชุมชน
3. การศึกษาการใช้สอยพื้นที่ของวัดล้านนา พบว่าภายใต้บริบททางสังคมในปัจจุบัน การใช้สอยอาคารและการจัดวางผังได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามอิทธิพลของภาคกลาง และด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและเทคนิคการก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลง ทำให้กลายเป็นเงื่อนไขการสร้างสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากเดิม
จากข้อมูลที่ทำการศึกษาดังกล่าว ถูกนำไปใช้ในการออกแบบร่วมกับแนวความคิดทางพระพุทธปรัชญาซึ่งออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะที่ตั้งโครงการที่อยู่ที่ลาดชัน อันประกอบไปด้วย
แนวคิดในการผังกำหนดให้วัดพระธาตุดอยเล็งแบ่งเขตพื้นที่ภายในออกเป็น 2 ส่วน โดยมีโลกุตตรปฏิปทาและโลกียปฏิปทาเป็นเครื่องแบ่งการใช้งานพื้นที่ออกเป็นสองส่วน
ในงานออกแบบทั้งหมดของโครงการ ถูกจัดวางโดยอาศัยโครงสร้างทางพุทธปรัชญาโดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศโดยแบ่งระดับการเข้าถึงพระธาตุเสมือนการเข้าระดับชั้นของหลักธรรม ในผลลัพธ์สุดท้ายของการออกแบบ การเดินทางสู่พระธาตุดอยเล็งจึงมุ่งหวังที่จะให้ผู้เดินทางมาถึงได้รับรู้ความสัมพันธ์ของพระธาตุดอยเล็งและพระธาตุช่อแฮ และการเดินทางถึงซึ่งโลกุตตระอันเป็นเป้าหมายของการเดินทางทั้งทางโลกและทางธรรม The objective of this thesis is to develop a design guideline that showcases local Lanna architecture and the use of Lanna temples under the present social context This thesis derives the following conclusions.
1. From a study in history and architecture of the role and function of Phrathat Doileng and Phrathat Cho Hae the former was construted to be memorial place not a temple like the latter.
2. According to the studying of the tradition activities annually of Phrae community which connected the space of project and space for local community
3. From a study of the land use of Lanna temples under the present social context the utilization of building and planning have changed because of an outside cultural influence an economic constraint and a changing construction technique Therefore the present condition of architecture is different from its original intention.
These findings will be applied together with a Buddhist philosophy in the process of architecture design and the design will fit with the site location steepness.
The new concept of the land use of Wat Phratat Doileng will be dictated by the way through nirvana and the way through mundane for partition.
The whole design of this project bears similarity to the structure of Buddhist philosophy which connects vertical and horizontal lines in to the geographical features of the temple site and culminates in the attainability of Phrathat like achieving each state of the Buddhist wisdom The aim of the journey to Phrathat is to liken Phrathat Doileng and Phrathat Cho Hae with a journey to nirvana.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
จำนวนดาวน์โหลด:
297