สถานดูแลและรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายโรคเอดส์โดยใช้หลักพุทธธรรม

Other Title:
Hospice for AIDS : by the Buddhist-way therapy
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะเสนองานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม ในแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย ในลักษณะการประยุกต์ ซึ่งสถาปัตยกรรมไทยนับเป็นศาสตร์ และงานศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองแห่งความเป็นไทย มีการสืบสานต่อกันมาอย่างยาวนานตลอดของประวัติศาสตร์ชาติไทย จนมีการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อเข้าสู่ยุคโลกา ภิวัฒน์ ทำให้บางครั้งเกิดการละเลยภูมปัญญาและรากเหง้าของตนเอง ในช่วงเวลานี้เองมีปัญหาในเรื่องของการสืบสานงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งนับวันจะมีผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจต่องานสถาปัตยกรรมน้อยลง ทำให้รูปแบบลักษณะไทยที่ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยขาดหายไป สาเหตุหนึ่งอาจจะเนื่องจากเรื่องของเอกลักษณ์ไทยในงานสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีข้อกำหนดในทฤษฏีที่ตายตัว สถาปนิกจึงละเลยและเห็นว่าไม่เหมาะกับการที่ต้องทำงานในลักษณะของธุรกิจแห่งโลกทุนนิยม
การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอโครงการในประเด็นของโรคเอดส์ และใช้สถานดูแลและรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย (ฮฮสปิส) โดยโรคเอดส์ นับเป็นวาทกรรมหนึ่งที่มรสังคมไทยให้ความสนใจ ผนวกกับการใช้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาหรือพุทธธรรม ซึ่งพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานสำคัญของงานสถาปัตยกรรมไทยแนวประเพณีนิยม การศึกษานี้จึงได้นำประเด็นดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางเพื่อการไปสู่เป้าหมายในการออกแบบสถาปัตยกรรมในลักษณะการประยุกต์ให้มีความร่วมสมัยของสถาปัตยกรรมไทย
ซึ่งในการเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีเอกลักษณ์ของลักษณะไทย ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในประเภทของอาคารและปัจจัยที่แวดล้อมในงานนั้นๆ โดยที่ปรากฏจะมีรูปแบบ คือ
- งานสถาปัตยกรรมตามแบบประเพณีนิยม มีการสืบต่อรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่มีความต่อเนื่องตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์และถึงปัจจุบัน
- งานสถาปัตยกรรมไทยในยุคปัจจุบัน ที่ทีการประยุกต์ให้มีความร่วมสมัยและยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไทย โดยการนำเอารูปแบบประเพณีหรือรูปแบบที่เหมาะสมตามภูมิภาคหรือที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นต้น มาเป็นแม่แบบในการประยุกต์ใช้
ผลการวิจัยพบว่า
ในการนำเสนองานวิจัยครั้งนี้ได้เลือก วิธีการนำเสนอโดยใช้แนวทาง 2 ประการ คือ
1. การใช้เอกลักษณ์ในเชิงรูปธรรม โดยการใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น การใช้รูปแบบต่างๆ ของหลังคาโดยการซ้อนชั้น การยื่นชายคา การเชื่อมต่อ เป็นต้น การใช้เสาลอย การออกแบบผนัง รูปแบบของช่องเปิด การจัดกลุ่มของอาคาร การจัดภูมิทัศน์และการใช้องค์ประกอบให้เหมาะสมกับสถาปัตยกรรมในเขตร้อนชื้น
2. การใช้เอกลักษณ์ในเชิงนามธรรม โดยการใช้พื้นที่แสดงออกในลักษณะของเรื่องคติธรรมที่อยู่ในพุทธศาสนา พุทธธรรม ในคติเรื่องของจักรวาล คือแนวความคิดเรื่องไตรภูมิ คติในการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น การออกแบบสถาปัตยกรรมในลักษณะให้เกิดปรัชญาของความเบาและลอยตัว เช่นการใช้เสาลอย การจัดกลุ่มและเชื่อมต่อของอาคารการใช้รูปทรงต่างๆ ของหลังคาและการลดมวลของอาคาร การใช้พื้นที่ใต้ถุนโล่งของอาคาร เป็นต้น A purpose of studying in Thai applied architecture design is aimed to express the idea of change in Globalized world which sometimes make a misunderstood of Thai traditional concept and character related to intellectual of the ancestors and appears its own style The transformation and change of physical chracteristics of buildings today may cause by not having fixed rules or theories of the characteristic of thai traditional architecture Thus it was possible to ignore the blending of Thai identities with commercial works under the influence of capitalism.
The objective of this study is to investigate factors related to AIDS and hospice which is the place evolved in response to the need for facilities of the terminally ill Because AIDS is discussed as one part of the discourse which Thai society have focused attention on particularly concerned with Buddha teaching (Buddha Dhamma) which is also being the basic the of Thai traditional architecture The study collect the data and respect to all hypothesis tested to use as a guideline for an adaptive design to suit the environment available and regard to Thai contemporary architecture.
To show the Thai architecture style it has to consider the proper of building type and factors surrounding which including.
- Traditional architecture style in which the architecture style has been practiced continually from the prehistory to history period and until nowadays.
- Current architecture style which is applied to be contemporary and still maintain Thai identity by regarding the proper traditional style to the local which is called Local Architecture to be the main from in applying.
According to the research there are two methods to present in the research which are
1. To use identity as a substantial by using the elements of architecture such as the variety kind of roof like to superimpose to bulge the eaves grouping and connecting the buildings using the colonnade wall design void design using the different types of roof and decreasing the building mass proper landscape and element for tropical architecture
2. To use identity as an abstract by following the Buddhism belief which main focus the three world of universal (hell-earth- paradise) through symbols lncluding the technique of architecture design as from of soft and to buoyed philosophy.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
98