ธรณีวิทยาทางโบราณคดี : กระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Other Title:
Geoarchaeology : site formation processes of Tham Lod rockshelter, Pang Mapha distict, Mae Hong Son province
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2003
Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาโบราณคดี ซึ่งประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาและเทคนิควิธีการต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการตีความข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี เพื่อตอบคำถามต่าง ๆ จากการขุดค้นทางโบราณคดี โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ ศึกษาลักษณะธรรมชาติและกระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดี และศึกษาความสัมพันธ์การเลือกใช้พื้นที่ของมนุษย์ในแต่ละช่วงเวลา พื้นที่กรณีศึกษาในการวิจัยครั้งนี้คือ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ได้ทำการขุดค้นโดยโครงการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากการศึกษาพบว่า ในด้านตำแหน่งที่ตั้งนั้น เพิงผาถ้ำลอด ค่อนข้างจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ ใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีต เพราะ ค่อนข้างจะอยู่สูง เพิงผาป้องกันแดด ฝน ได้ดี ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ คือแม่น้ำลาง ในด้านกระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดี พบว่า จะพบชั้นทับถมที่เป็นกิจกรรมของมนุษย์ค่อนข้างหนา แสดงให้เห็นถึงการใช้พื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีชั้นธรรมชาติแทรกสลับอยู่ในชั้นกิจกรรมของมนุษย์ด้วย เช่น พบร่องรอยการถล่มของเพิงผา ชั้นรบกวนที่น่าจะเกิดจากน้ำท่วม เป็นต้น ในส่วนของการใช้พื้นที่ในอดีต พบว่า ระยะที่ 1 จัดอยู่ในช่วงสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย (22,350 – 12,160 ปีมาแล้ว) พบหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานแบบสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ มีการใช้เครื่องมือหินเป็นหลัก พบหลักฐาน เช่น เครื่องมือหิน และเศษกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมาก ระยะที่ 2 จัดอยู่ในช่วงสมัยโฮโลซีน (หลังจากประมาณ 9,800 ปีมาแล้ว) ซึ่งจากหลักฐานที่พบนั้น จะโดดเด่นในช่วงโฮโลซีนตอนปลาย ที่พบเศษภาชนะดินเผากระจายตัวอยู่ทั่วไป ในช่วงนี้จะตรงกับชั้นดินชั้นที่ 1 และ 2 ของพื้นที่ขุดค้นทั้ง 3 พื้นที่ ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้พื้นที่ในช่วงนี้ได้ว่า เป็นกิจกรรมของกลุ่มคนในวัฒนธรรมที่แตกต่างจากช่วงสมัยไพสโตซีนตอนปลาย This research aims to apply the geological or earth science methodology in the interpretation of study archaeological data from excavation of prehistoric sites in Pang Mapha District, northern Thailand. This study has two major objectives. First, to study relationship between the stratigraphy, sedimentology and the archaeological record, including artifacts and occupation layers from excavation, and the second objective is to examine landuse pattern and natural resources in the past.
Tham Lod prehistoric rock-shelter site has been excavated by the Highland Archaeology Project in 2002. It is located on a good setting and a landscape is suitable for habitation. Tham Lod rockshelter is a dry, well protected from rain and it is comfortable site which that is surrounded by easily accessible natural abundant resources. Base on results of the analyses and interpretation of geoarchaeological data, the site formation processes can be divided into two processes : natural process (gravels deposit, rock fall, floods) and cultural process. Tham Lod rockshelter was occupied two periods. The first occupation was from the Late Pleistocene to early Holocene (22,350-12,160 BP.). Archaeological evidence includes many stone tools, faunal remains, shells and human skeletons. The spatial distribution indicated that the site which comprise of various activities as a temporary camp, production, disposal and burial site. The second occupation period had begun 9,800 B.P. Archaeological evidence includes potsherds and beads. This evidence indicate that a new group of people had reoccupied this site.
Type:
Spatial Coverage:
ถ้ำลอด (แม่ฮ่องสอน)
Collections:
Total Download:
57