การศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาเมืองนครปฐม เพื่อการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน

Other Title:
A study on historical evidences of human settlement, urbanization, and development of Nakhon Pathom city for conservation and development planning
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทฤษฎี แนวความคิด และหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของเมืองการผสานองค์ความรู้ในมิติด้านประวัติศาสตร์เข้ากับกระบวนการวางผังเมือง เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาเมืองนครปฐมในอนาคต ระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารหนังสือ ตำรา และงานวิจัย ประกอบกับการสำรวจภาคสนาม ใช้เครื่องมือระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ในการระบุตำแหน่งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วิธีการวิเคราะห์ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการนำข้อมูลสถานที่ทางประวัติศาสตร์กำหนดลงบนแผนที่พื้นฐานแล้วทำการวิเคราะห์โดยการซ้อนทับ (Overlay Analysis) บนผังเมืองรวมเมืองนครปฐม
ผลสรุปจากการวิจัย พบว่าการสร้างเมืองนครปฐมไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่โบราณสถานโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ซึ่งรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 เมื่ออาณาจักรทวารวดีล่มสลาย นครปฐมกลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากแม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง นครปฐมกลับมาเป็นเมืองอีกครั้งจากการที่รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบและบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์หลังจากนั้นมีการขุดคลองเจดีย์บูชาขึ้นเพื่อใช้ในการเสด็จมานมัสการ การตั้งถิ่นฐานในระยะแรก จึงมีลักษณะเป็นแนวยาวตามเส้นทางคมนาคม เมื่อเมืองเติบโตขึ้นจึงกระจุกตัวหนาแน่นบริเวณโดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์จนกลายเป็นศูนย์กลางเมือง จากการวิเคราะห์คุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สามารถจำแนกตามยุคสมัยได้ดังนี้ คือสมัยทวารวดี ได้แก่ พระประโทณเจดีย์ เจดีย์จุลประโทน วัดธรรมศาลา วัดพระงาม วัดพระเมรุ สระน้ำจันทร์ และคูเมืองทวารวดีสมัยรัชกาลที่ 4 ให้แก่ องค์พระปฐมเจดีย์และคลองเจดีย์บูชา สมัยรัชกาลที่ 6 ได้แก่ พระราชวังสนามจันทร์สะพานเจริญศรัทธาบ และโรงเรียนราชินีบูรณะ เมื่อนำสถานที่เหล่านี้มาวิเคราะห์โดยการซ้อนทับลงบนผังเมืองรวมเมืองนครปฐมแล้วพบว่า มีการวางและจัดทำผังเมืองที่เหมาะสมอยู่เพียงแห่งเดียว คือบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ ส่วนอีก 3 แห่ง มีการกำหนดเป็นพื้นที่สีน้ำตาลอ่อนเช่นกัน แต่ไม่ได้คำนึงถึงบริเวณโดยรอบ ได้แก่ สระน้ำจันทร์ วัดพระเมรุและคูเมืองทวารวดี นอกจากนั้นอีก 8 แห่งยังไม่เหมาะสมและไม่คำนึงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกด้วย ได้แก่ พระประโทณเจดีย์ เจดีย์จุลประโทน วัดธรรมศาลา วัดพระงาม องค์พระปฐมเจดีย์ คลองเจดีย์บูชา สะพานเจริญศรัทธาและโรงเรียนราชินีบูรณะ
แนวทางในการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเสนอแนะให้นำกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับร่วมกัน ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและสถานที่ตั้งสำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน 2) พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมโดยกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน) และประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) ในบริเวณสถานที่ตั้งและโบราณสถานและบริเวณเขตกันชนตามลำดับในการวางผังถนนควรรื้อฟื้นโครงการถนนพุทธบูชาและถนนในแนวแกนเหนือ-ได้และแนวแกนตะวันออกตะวันตก ให้เป็นถนนกว้างและสง่างามเพื่อเปิดมุมมองจากส่วนต่าง ๆ ของเมืองให้องค์พระปฐมเจดีย์โดดเด่น 3) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ผ่านข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมการปลูกสร้างและคัดแปลงอาคาร ความสูงและระยะถอยร่นในบริเวณสถานที่ตั้งโบราณสถาน และ 4) การจัดทำแผนอนุรักษ์และพัฒนาเมืองนครปฐมที่มีรายละเอียดของการอนุรักษ์สถานที่สำคัญต่างและการพัฒนาบริเวณโดยรอบที่ส่งเสริมและเกื้อกูลบริเวณอนุรักษ์ This research aims to study theories and concepts of human settlement, urbanization and evidences of habitation within an old city, as well as the integration of historical knowledge into a city planning process. Results from the study will be used as a basis for conservation and development planning of NaKhon Pathom in the future. Research methods employed include data and information collection from various secondary sources accompanied by field survey. To identify the significant historical areas, (GPS: Global Positioning System) was used to locate the definite sites on the base maps. Afterwards, the information was classified and analyzed by overlaying the historical areas map on top of the adopted Nakhon Pathom General Plan B.E. 2544. Finally, the composited map indicates numbers of substantive mishandling historical places and sites that should be corrected.
The finding is that there is still no substantive evidence of city establishment. However, archaeological site and finds convince historians to assume that Nakhon Pathom was one of the Kingdom of Dhavaravadi which flourished during 11-16 B.E.. After the ruin of Dhavaravadi, Nakhon Pathom became deserted due to the change of river line. The ciy became occupied again after King Rama IV had found and restored Prapathom Chedi. The King had initiated an idea to construct the canal, which is now so-called Klong Chedi Bucha, to facilitate his journey to the pagoda. As a result, the linear settlement was formed along the canal. After the century of growth, urbanization is now concentrated around the pagoda which is the centre of the city. A result of the archaeological finds also provides sufficient information to group 12 historical places based on 3 periods. Prapathon Chedi, Chunlaprathon Chedi, Wat Thammasala, Wat Phra Ngam, Wat Prameru, Sra Nam Chan and Moat of Dhavaravadi are grouped in Dhavaravidi Period. Prapathom Chedi and Chedi Bucha Canal are grouped in King Rama IV period. Sanam Chan Palace, Charoen Satha Bridge and Rachinee Burana School are in King Rama VI period. The overlay analysis reveals that only Sanam Chan Palace has a suitable city planning while the other 11 places have been planned without the concern of historical places' significant.
For conservation and development planning of Nakhon Pathom, the 3 related Acts should be utilized and enforced as tools for the plan implementation. 1) As provided by the Historical Place, Monument, Art Object and Museum Act B.E. 2504, unregistered historical places should be registered as national historical landmarks immediately. 2) In preparing the city general plan according to the City Planning Act B.E. 2518, all historical place and sites and the surrounding areas should be assigned as conservation or open space and recreation types of land use respectively. Furthermore, north-south and east-west axis should be reinstated as major avenue-type thoroughfares to provide attractive city vista and to enhance the beauty and domination of Prapathom Chedi. 3) To supplement conservation goals, local regulations should be established to control construction of building in term of height, distance and setback in certain areas, as provided by the Building Control Act B.E. 2522. 4) Lastly. detailed city conservation and development plan should be prepared and adopted to conserve the targeted historical places and sites, as well as to enhance the city cultural landscape in general.
Type:
Discipline:
Architectural Heritage Management and Tourism (International Program)
Collections:
Total Download:
100
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ตลาดนัดกับบทบาทผู้บริโภค : กรณีศึกษาตลาดนัดวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต. นครปฐม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม
Type: Thesisมธุกร ตปนีย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2000) -
การปรับตัวของผู้สูอายุในเขตเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Type: Thesisรุจิรางค์ แอกทอง; Rujirang Agthong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006) -
พฤติกรรมการป้องกันการกระทำรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Type: Thesisกรรณิกา อ่างทอง; Kannika Angthong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)