การวิเคราะห์กระดูกสัตว์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

Other Title:
An analysis of fauna remains excavated from Kok Khon site, Sakon Nakon province
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2001
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงชนิดของสัตว์ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน ว่ามีสัตว์ประเภทใดบ้าง ชุมชนนี้ได้นำสัตว์มาใช้ประโยชน์อย่างไร และนำข้อมูลทางด้านนิเวศวิทยาของสัตว์ที่พบในแหล่งโบราณคดี มาตีความสภาพแวดล้อมของแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอนในอดีต และนำผลทางด้านสภาพแวดล้อมของแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอนเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงที่มีอายุระหว่าง 5,600-1,800 ปีมาแล้ว คือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีบ้านนดี และแหล่งโบราณคดีโนนนกทา ว่ามีลักษณะสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร
ผลการวิเคราะห์พบว่า
1. สัตว์ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน คือ วัว ควาย หมู สัตว์ตระกูลกวาง สุนัข ไก่ หอย ปลา เต่า จระเข้
2. เมื่อนำผลวิเคราะห์กระดูกสัตว์มาศึกษาถึงลักษณะนิเวศวิทยา สามารถตีความถึงสภาพแวดล้อมของแหล่งโบราณคดี บ้านโคกคอน ว่ามีสภาพเป็นป่าเต็งรัง มีป่าไม้ผลัดใบ มีลักษณะที่เป็นหนองบึง ทุ่งหญ้า
3. เมื่อนำข้อมูลทางด้านสภาพแวดล้อมเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมกับแหล่งโบราณวัฒนธรรมบ้านเชียง คือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง, แหล่งโบราณคดีบ้านนาดี และแหล่งโบราณคดีโนนนกทา จะเห็นว่ามีลักษณะสภาพแวดล้อมที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากพบสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน The purposes of this research are to identify animal species, to study the animal ecology living Sakon Nakon province and to conduct a comparative study between Kok Khon, Sakon Nakon province and Ban Chiang, Non Nok Tha and Ban Nadi in Udon Thani province. The Kok Khonsite dates from 5,600 – 1,800 years age.
The result of analysis inferred the habitats, environments and animal ecology. The species of animals found in Kok Khon Site including bovids, cervids, carnivores, small mammals, turtles, fishes, shells and crocodiles. These remains included both wild and domestic animals inferring that the vegetation of Kok Khon site was dry deciduous and dipterocarp forests which surrounded by grassland and swamp.
Finally the result of fauna analysis from Kok Khon site shows that the past environments were similar to those contemporary sites including of Ban Chiang, Ban Nadi and Non Nok Tha.
Type:
Spatial Coverage:
โคกคอน (สกลนคร)
Collections:
Total Download:
33
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การวิเคราะห์แบบแผนการกระจายตัวและแปลความหมายของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์จากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Type: Thesisอนุสรณ์ อำพันธ์ศรี; Anusorn Amphansri (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมายของแบบแผนการกระจายตัวของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์ และเปลือกหอย และเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในกิจกรรมการอยู่อาศัยของกลุ่มคนล่าสัตว์-เก็บหาอาหารที่เข้ามาใช้พ ... -
วิเคราะห์เปลือกหอย กระดูกปลา และปู จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
Type: Thesisจุตินาฏ บวรสาโชติ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียงจากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน จังหวัดสกลนคร
Type: Thesisกรกฎ บุญลพ; Korakot Boonlop (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)This research focus on the analysis of prehistoric human skeletal remains excavated from Ban Khok Khon, Sakhon Nakhon Province, NE Thailand. This archaeological site can be labeled as one among the Ban Chiang Cultural ...