การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์และประเพณีการฝังศพที่ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Other Title:
Humna skeletal remains and mortuary practice analysis at Prasat Phanom Wan Muang district, Nakhon Ratchasima province
Author:
Subject:
Date:
1999
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้เน้นการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์และประเพณีการฝังศพที่ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุปรงสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวของชุมชนโบราณก่อนการสร้างปราสาทพนมวัน ในช่วงเวลา 2 สมัย คือ สมัยที่ 1 ประมาณก่อน 370 ปี ก่อนคริสตกาล ถึง 1,400 ปีก่อนคริสตกาล จากการกำหนดอายุแบบเทียบเคียง และสมัยที่ 2 คือ 370 ปี ก่อนคริสตกาล ถึง คริสตศักราชที่ 230โดยการกำหนดอายุแบบสัมบูรณ์ด้วยวิธี Accelerator Mass Spectrometry การศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ในครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือ ศึกษาด้านมนุษย์วิทยากายภาพ โดยการสังเกตและอธิบายลักษณะทางกายภาพด้วยตาเปล่า ร่วมกับแนวทางการศึกษาด้านมนุษย์วิทยาวัฒนธรรม เพื่อศึกษาเรื่องประเพณี การฝังศพภายในแหล่ง รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีในบริเวณใกล้เคียง จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีซึ่งอยู่บริเวณระหว่างปราสาทประธานและปรางค์น้อยในปี พ.ศ.2540 และบริเวณโคปุระตะวันออกในปี พ.ศ. 2535 พบว่ากลุ่มโครงกระดูกที่ศึกษา 7 โครง เป็นผู้ใหญ่มีทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุเมื่อตายอยู่ในช่วง 30-40 ปี และมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 162-171 เซนติเมตร จากโครงกระดูกทั้งหมด สามารถศึกษากะโหลกศรีษะได้เพียง 2 กะโหลก ปรากฏลักษณะของมองโกลอยด์และมีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจากคนไทยปัจจุบัน อีกทั้งผลการวิเคราะห์พยาธิสภาพที่ปรากฏในกลุ่มโครงการกระดูก พบว่ามีโรคฟันผุ โรคปริทันต์หรือโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ และพบการเสื่อมของกระดูก นอกจากนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบประเพณี การฝังศพในบริเวณคือ บริเวณระหว่างปราสาทประธานและปรางค์น้อยปี พ.ศ. 2540 บริเวณโคปุระตะวันออก ปี พ.ศ. 2535 และการขุดค้นภายในโคปุระตะวันตก ปี พ.ศ. 2536 ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบพิธีกรรมและความเชื่อในเรื่องความตายของชุมชนในแหล่งโบราณคดี ปราสาทพนมวันทั้งสมัย ที่ 1 และสมัยที่ 2 มีความคล้ายคลึงกัน ภาพรวมของรูปแบบพิธีกรรมทั้งสองสมัยมีการจัดวางศพ 3 ลักษณะ คือ นอนหงายเหยียดยาว ฝังศพครั้งที่2 และบรรจุศพเด็กใยภาชนะดินเผา มีการมัดและห่อศพก่อนการฝัง ตลอดจนมีการอุทิศสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องประดับให้ผู้ตายนอกจากนั้นยังมีการทุบภาชนะดินเผาปูรองศพหรือวางร่วมกับศพ แต่ไม่สามารถกำหนดทิศทางการหันศรีษะที่แน่นอนได้ ดังนั้นเมื่อสรุปผลการวิเคราะห์โครงกระดูกประกอบกับผลการศึกษาประเพณีการฝังศพ พบว่าทั้งสองสมัยมีการอาศัยต่อเนื่องกันมา ผลจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของโครงกระดูกมีความคล้ายคลึงกันซึ่งสัมพันธ์กับผลจากการศึกษาประเพณีการฝังศพที่มีรูปแบบพิธีกรรมและความเชื่อในเรื่องความตายที่คล้ายคลึงกัน ทั้งภายในแหล่งโบราณคดีเดียวกันและแหล่งโบราณคดีในบริเวณใกล้เคียง อนึ่งผลจากการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ และประเพณีการฝังศพที่ปราสาทพนมวัน สามารถใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ที่มีการอยู่อาศัยในลักษณะเดียวกับแหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน This research focused on and analysis of human skeletal remains and mortuary practice at Prasat Phanom wan, Muang District, Nakhorn Ratchasrima Province. It aimed to study and ancient community at Prasat Phanom Wan site before the construction. The work focused on two specific periods: the first period was before 370 B.C. to 1,400 B.C. by relative dating; the second period was from 370 B.C. to 230 A.D. by absolute dating with the dating method of Accelerator Mass Spectrometry the human skeletal remains at this site were analyzed by two methods: firstly, a Physical Anthropological study by which gross analysis method was applied; and secondary mortuary practice analysis. The skeletal analysis of the site under studied was compared with other nearby sites. The excavation at the main palace and stupa (1997) and the East Ko-Pu-Ta-Ra (1992) revealed that they are seven skeletons found at the two sites. They are adult males and female with the age ranged between 30 and 40 years old at death. Their heights were between 16-171 cm. two of seven skulls showed the characteristics of Mongoloid which were not different from Thai the paleopathological analysis of all skeletal remains found that there were dental caries, periodontitis and degenerative changes. The comparative studies of mortuary practice at the main palace and stupa (1997), the East Ko-Pu-Ta-Ra (1992) and the west Ko-Pu-Ta-Ra (1993) resulted in the similarities of their belief systems and death ceremonies for both periods. Three features of all burials were extended burial, secondary burials, and burial jar. Some were tied-up before buried with grave-goods some were put with or above broken pieces of pottery in the grave. However, the direction of deceased’s head was uncertain It can only be concluded that there was the continuation of these two periods. The results of this study showed that people of the two periods in the same and nearby archaeological sites were similar in their morphology and their mortuary practice. This analysis can be very useful for any comparative studies with other similar sites in Thailand.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
นครราชสีมา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
48