การวิเคราะห์กระดูกสัตว์จากการขุดค้นที่เมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

Other Title:
Faunal analysis from an excavation at Maung- Fai, Amphoe Nonghong, Changwat Buri Rum
Subject:
Date:
1999
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิเคราะห์กระดูกสัตว์จากแหล่งขุดค้นเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงษ์ จังหวดับุรีรัมย์ มีเป้าหมายดังนี้คือ ศึกษาชนิดของสัตว์ที่พบในแหล่งโบราณดคี สภาพนิเวศวิทยาของสัตว์แต่ละชนิดเพื่อนำผลการศึกษามาใช้สร้างภาพวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนแหล่งนี้ และสภาพแวดล้อมในสมัยอดีตที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
การวิเคราะห์อาศัยข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการขุดค้นและนำมาเปรียบเทียบกับกระดูกสัตว์ในปัจจุบันด้านสภาพนิเวศวิทยาของสัตว์แต่ละชนิดเพื่อทราบถึงรายละเอียด อุปนิสัย และสภาพแวดล้อมที่สัตว์เหล่านั้นอาศัยอยู่ ผลการวิเคราะห์ สัตว์ที่พบได้แก่ วัว ควาย หมู สุนัข กวาง เก้ง ละออง/ละมั่ง กระต่าย งู สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์แทะ เต่า ปลาและหอย สัตว์ที่พบมีทั้งสัตง์ป่าและสัตง์เลี้ยง มนุษย์ได้นำสัตว์เหล่านี้มาเป็นอาหารและเอาไว้ใช้งานตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานแสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการล่าสัตว์ ดักสัตว์และจับสัตว์น้ำ
จากการเปรียบเทียบทางด้านสภาพแวดล้อมกับแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันอาทิ บ้านเชียง โนนนกทา บ้านนาดี และโนนชัย การเปรียบเทียบหลักฐานประเภทกระดูกสัตว์พบว่าสัตว์ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าสภาพในอดีตและปัจจุบันไม่แตกต่างกันมากนัก The objectives of faunal analysis from an excavation at Maung Fai, Amphoe Nonghong, Changwat Buri rum were to identify animal species; to study the animal ecology living in this area; and to conduct a comparative study between the past and the present. The result of this study was used to reconstruct the subsistence pattern of prehistoric people at Maung Fai, and the past environment that influenced the settlement pattern in this area.
The result of analysis inferred the habitats environments and animal ecology. The species of animals found in the site at Maung fai including ox, water buffaloes, boars, canines, deer, hares, snakes, small mammals, rodents, turtles, fishes, shells etc. These animals were wild and domestic animals the prehistoric people utilized these animals for food and laboring at the beginning occupation of Maung Fai The data also suggested that the subsistence patterns of prehistoric people consisting of rice cultivation, stock raising, hunting, trapping small mammals, and catching aquatic animals.
In comparison between the faunal remains from this site and other sites in the same region including Ban Chiang, Non Nok Tha , Ban Na Di , and Non Chai; the result exhibited that the prehistoric people exploited the same species, In general, the data showed that the faunal remains in the past were similar to the present; therefore, the past environmental surrounding the site was not different from the present.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
เมืองฝ้าย
หนองหงส์
บุรีรัมย์
หนองหงส์
บุรีรัมย์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
29