กรณีพระนั่งเกล้าฯ

Other Title:
The Case of King Rama III
Author:
Date:
2013-09-15
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (สมเด็จพระศรีสุลาลัย) เมื่อครั้งพระบรมชนกนาถยังเสด็จดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทับ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชปิโยรส (พระราชโอรสอันเป็นที่รัก) ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงไว้วางพระราชหฤทัย ยิ่งกว่าพระราชโอรสพระองค์อื่น สติปัญญาอันเฉียบแหลม ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวสมชายชาติทหาร และความจงรักภักดีอันเปี่ยมล้นของพระราชโอรสพระองค์นี้ เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่พระทัยของ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยเหตุนี้ รัชกาลที่ 2 จึงทรงวางพระราชอำนาจทั้งปวงให้พระองค์ ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน ต่างพระเนตรพระกรรณในช่วง 10 ปีหลังแห่งรัชกาล สมเด็จพระราชโอรสไม่เพียงทรงบริหารราชกิจน้อยใหญ่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยความวิริยอุตสาหะ เท่านั้น แต่ยังทรงขวนขวายหาพระราชทรัพย์ ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถสำหรับทรงใช้จ่าย ทั้งในราชกิจทั้งปวงและส่วนพระองค์ หลังจากสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต อย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 โดยยังไม่ทันทรงมีรับสั่งมอบราชสมบัติ แก่พระราชโอรสพระองค์ใด ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมเสนาบดีอันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเหล่าเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ จึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลอัญเชิญ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ผู้ทรงพระสติปัญญาฉลาดหลักแหลมและได้ว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานานกว่า 10 ปี ขึ้นครองราชย์สืบต่อพระบรมชนกนาถ The presentation of historical information relating to King Rama III without a sophisticated analysis has resulted in a distortion in history study in the present time. Most of the information came from a single source, and was not analyzed in an earnest manner. However, considering these information evidences in all aspects leads to an aim of this article which is to investigate historical documents in a serious way. Findings show that King Rama III had virtues and brilliant abilities in administrating official affairs. Furthermore, he was acknowledged by ministers, high-ranked and low-ranked officials, as well as European merchants and diplomats who came to Siam during that period. Lastly, one of King Rama III’s works is his creation of modern knowledge that can be seen through pharmacopoeia inscription and linguistic textbook at Wat Prachetupon as examples. These two works have been used for educational purposes until the present time.
Type:
Is part of:
วารสารศิลป์ พีระศรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (15 ก.ย. 2556) : 57-107
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
49