รูปทรงและวิถีแห่งความสัมพันธ์ในชนบท

Other Title:
Relationship and form of rural life
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการสร้างสรรค์ประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาเทคนิคผสม โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท ซึ่งข้าพเจ้ามีความประทับใจ เป็นวิถีแห่งความสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะ ประการที่หนึ่ง คือ ความสัมพันธ์ของชีวิตกับชีวิต และประการที่สอง คือ ความสัมพันธ์ของชีวิตกับธรรมชาติ
สร้างรูปทรง โดยการนำรูปทรงเครื่องจักสาน ประเภทเครื่องจับปลา มาทำการคลี่คลายและสร้างสรรค์ใหม่ให้มีลักษณะที่ ประสานกัน ยึดเกาะกัน รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นหนึ่งเดียวกัน แทนค่าความสัมพันธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันของผู้คนในสังคมชนบทและแทนค่าความสัมพันธ์ของชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติโดยการใช้วัสดุธรรมชาติ คือ ดินเผา ร่วมกับไม้ไผ่ และหวาย
เนื้อดินปั้นที่ใช้ในโครงการเป็นการนำดินพื้นบ้านมาพัฒนาให้มีความเหมาะสมในการสร้างผลงานที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีอัตราส่วนของวัตถุดิบดังนี้
1.ดินพื้นบ้าน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ร้อยละ 40
2.ดินขาว อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ร้อยละ 40
3.ทรายละเอียด ร้อยละ 15
4.ดินเชื้อ ร้อยละ 5
เผาที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศสันดาปสมบูรณ์ (Oxidation Firing) โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงในการเผา
ผลงานสำเร็จมีจำนวน 5 ชิ้น แต่ละชิ้นมีรูปทรง และ ลักษณะที่แตกต่างกันไปตามการพัฒนาผลงานในแต่ละช่วงของการสร้างสรรค์ โดยผลงานทั้งหมดยังคงให้ความรู้สึกถึงสภาพชีวิตและวิถีแห่งความสัมพันธ์ในชนบท เพื่อสะท้อนแง่คิดบางประการต่อภาวะการดำเนินชีวิตในสภาพสังคมปัจจุบัน This thesis is associated with creation of ceramic sculpture with the mixed technique. The author was inspired and impressed by the livelihood in rural societies which were the way of 2 relationship attributes: 1) the relationship between life and life, and 2) the relationship between Life and nature.
The form were formed by using unrolled fishing baskets to which connection, cohesion, and unity were imparted. These represent the people’s harmonic relationship in rural societies. To represent the relationship among nature, live, the nature materials pottery, bamboo and rattan were adopted.
The clay used in the project was developed from a local clay so that it was suitable for creation the bigness works with the following material proportion:
1.Local clay from Nakhon Chi Sri District, Nakhon Pathom Province 40 %
2.Kaolin from Chae Hom District, Lampang Province 40 %
3.fine sand 15 %
4.Grog 5 %
The works were fired in oxidation at a temperature of 850 degrees Celsius by using gas as the fuel.
The complete works are composed of 5 pieces. Each piece has its own form and character, which are different from one another and depend on each stage of work development. All of works cause the feelings of life conditions and the ways of relationship in rural societies so that they reflect some ideas about living conditions in present societies.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
Collections:
Total Download:
99