จังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหว

Other Title:
Rhythm and manner of movement
Author:
Subject:
Date:
1984
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ประติมากรรมของข้าพเจ้านี้ มีความประสงค์ที่จะแสดงความรู้สึกภายในของรูปทรงเกี่ยวกับ “จังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหว” ของสิ่งที่มีชีวิตในธรรมชาติเป็นพื้นฐาน เช่น คน, สัตว์และพืช ที่แสดงกิริยาอาการของความเคลื่อนไหวเพื่อค้นหาความงามของรูปทรงที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยการใช้ “เส้น” เป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกตามเหตุผลและกฎเกณฑ์ในธรรมชาติ นำมาผสมผสานกับจินตนาการและวิธีการสร้างสรรค์รูปทรงตามทัศนคติของข้าพเจ้า ด้วยการใช้โครงสร้างทางเรขาคณิตเข้ามาสร้างความประสานกลมกลืนกับจังหวะและลีลาท่าทางในการเคลื่อนไหวของคนและสัตว์ ทำให้เกิดรูปทรงใหม่ขึ้นมาเพื่อเน้นความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของเส้นและรูปทรง อันเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์และค้นหาความมีชิวิต มีพลังของเส้นและรูปทรง ที่แสดงความรู้สึกของการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะและลีลาในธรรมชาติเป็นบรรทัดฐานและเพื่อค้นหาคุณค่าทางความงามของเส้นและรูปทรงให้มีความสมบูรณ์ในตัวเองอย่างมีเหตุผลที่จะนำไปสู่ความมีเอกภาพ
“เส้น” ในงานประติมากรรมของข้าพเจ้านี้ เปรียบเสมือนเป็นร่องรอยของการบันทึกความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิตที่เกิดจากจิตสำนึกบนความว่างเปล่าที่ล้อมรอบรูปจำลองทางจิต เพื่อโน้มน้าวให้คนเรามองเห็นคุณค่าทางความงามของศิลปะประติมากรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์เป็นรูปทรง ซึ่งแสดงความเคลื่อนไหวของสิ่งที่มีชีวิตในลีลาท่าทางต่าง ๆ ให้มีความประสานกลมกลืนกับอุดมคติของข้าพเจ้าที่มองเห็นคุณค่าของธรรมชาติ มีเหตุผล มีกฎเกณฑ์และมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ตลอดจนมีความงามในรูปร่าง รูปทรง และสีสันต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ซึ่งข้าพเจ้าได้นำมาเป็นพื้นฐานในการค้นหาความงามของรูปทรง ด้วยการสร้างสรรค์และพัฒนาของเส้นตามจุดมุ่งหมาย
งานประติมากรรมของข้าพเจ้านี้เริ่มต้นจากความว่างเปล่าและก่อตัวขึ้นมาด้วยจิตสำนึก ในกฎเกณฑ์และแสดงความเป็นจริงตามธรรมชาติ นำมาผสมผสานกับทัศนคติในการสร้างสรรค์รูปทรงโดยการใช้ “เส้น” อันเป็นสื่อในการบันทึกประสบการณ์ทางความงาม ช่วงชีวิตของข้าพเจ้า เพื่อให้ผลงานมีสุนทรียภาพและเอกภาพของรูปทรง ซี่งสะท้อนความรู้สึกภายในเกี่ยวกับ “จังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหว” ที่แสดงถึงความมีชีวิต มีพลังในเส้นและรูปทรง ให้มีความประสานกลมกลืนกับ พื้นที่ว่างภายนอกที่ล้อมรอบรูปทรงและช่องว่างภายในของรูปทรงที่มีลักษณะโปร่ง
ฉะนั้นคุณลักษณะของเส้นที่จำนำมาสร้างเป็นรูปทรงตามจุดมุ่งหมายของข้าพเจ้า จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะเมื่อเส้นเริ่มก่อตัวขึ้นและสิ้นสุดลงจะต้องแทนค่าความรู้สึกต่าง ๆ ออกมาได้ครบตามที่ต้องการ เช่นภายในเส้นเดียวกันจะมีขนาดเส้นหนาเรียวไปหาเส้นบาง แล้วเวียนกลับมาหาเส้นหนาตามจังหวะและลีลาขององค์ประกอบเพื่อเป็นการเน้นความเคลื่อนไหวของเส้นมากขึ้น หรือปริมาตรของเส้นจะมีลักษณะกลม, รี และแบนหรือผสมกัน ตามความเหมาะสมกับองค์ประกอบในจังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหวในรูปทรงที่เกิดขึ้น
ตลอดจนรูปทรงที่เป็นหน่วยย่อยซึ่งจะนำมาประกอบเป็นรูปทรงทั้งหมดให้ต่อเนื่องและเกิดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่นจากรูปทรงเดียวกันนำมาต่อเนื่องกันด้วย ขนาดที่ใหญ่ต่อมาเป็นขนาดเล็กรองลงไปเรื่อย ๆ จนเล็กที่สุดในโครงสร้างของวงกลม ซึ่งในทึ่สุดขนาดเล็กที่สุดจะมาบรรจบกับขาดใหญ่ที่สุด ดูแล้วเกิดความรู้สึกในการเคลื่อนไหวในอีกลักษณะหนึ่ง โดยเกิดเป็นการเคลื่อนไหวของรูปทรงของเส้นที่หมุนเวียนติดต่อกันไปตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อค้นหาคุณสมบัติของเส้นและการจัดองค์ประกอบเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่มีชีวิตมีพลังและมีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องสัมพันธ์กัน จนเกิดเป็นเอกภาพในรูปทรง
การพัฒนารูปทรงเพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์กับจินตนาการของข้าพเจ้า ได้รับความบันดาลใจในการสร้างสรรค์รูปทรงและความรู้สึกมาจากประสบการณ์และสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่น คน, สัตว์และพืช เพื่อค้นหาความงามของเส้น โดยอาศัยโครงสร้างทางเรขาคณิตนำมาดัดแปลงให้ผสมผสานกับเนื้อหาสาระของธรรมชาติและจินตนาการซึ่งแสดงลีลาท่าทางออกมาในลักษณะของความเคลื่อนไหว เป็นจุดนำในการค้นหาความมีชีวิต มีพลังในรูปทรงที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่เพื่อสะท้อนความรู้สึกภายในและเอกภาพในผลงาน
องค์ประกอบในการสร้างสรรค์เส้นให้เกิดเป็นรูปทรงตามจุดมุ่งหมายจะต้องประกอบด้วย
- ความสัมพันธภาพในการจัดองค์ประกอบของเส้นและช่องว่าง ด้วยเนื้อหาสาระอย่างมีเหตุผลและอารมณ์ความรู้สึกในจินตนาการของข้าพเจ้า
- ความเด็ดขาดแน่นอนในการใช้เส้น (ขนาดของเส้น ลักษณะของเส้น และสัดส่วนในการจัดองค์ประกอบของเส้นให้เกิดเป็นรูปทรงที่มีเอกภาพความแน่นอนในการเชื่อมต่อระหว่างเส้นและรูปทรงที่เกิดขึ้น ให้เกิดความสัมพันธ์และต่อเนื่องซึ่งกันและกัน)
- ความเรียบเกลี้ยงของเส้น (ผิวของเส้นที่เรียบเกลี้ยงเพื่อเน้นความเคลื่อนไหวให้ดูชัดเจน แน่นอน หนักแน่นและมั่นคงมากยิ่งขึ้น)
- ความเรียบง่ายของรูปทรง (สร้างสรรค์รูปทรงให้มีเนื้อหาสาระด้วยการใช้เส้นเท่าที่จำเป็นและน้อยที่สุด เพื่อความชัดเจนและรวดเร็วทันทีที่ได้พบเห็น)
ลักษณะพิเศษที่สะท้อนมาจากผลงานประติมากรรมของข้าพเจ้าถูกสร้างขึ้นด้วยเส้น เกิดเป็นรูปทรงโปร่ง (SKELTAL FORM) ตามจังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหว ซึ่งประกอบเป็นรูปทรงด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ของเส้นให้เกิดความสัมพันธ์กับช่องว่างภายในและอากาศภายนอกรูปทรงในขอบเขตที่กำหนดขึ้น ทำให้ผลงานมีลักษณะโปร่ง เบา ซึ่งสามารถมองผ่านเส้นทะลุออกไปด้านหลังเห็นเส้นภายในที่ซ้อนผ่านกันเป็นระยะ ๆ และผ่านเลยออกไปภายนอกที่เป็นพื้นหลัง (BACK GROUND) ในสภาพแวดล้อมของผลงาน
เมื่อมีการเลื่อนไหวที่เปลี่ยนมุมมองไปโดยรอบผลงานที่มีลักษณะลอยตัว เราจะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของเส้นและช่องว่างภายในรูปทรง เปลี่ยนไปตามจังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหวในองค์ประกอบที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยเส้น เกิดรูปร่างในมิติที่แปลกใหม่หมุนเวียนต่อเนื่องซึ่งกันและกันตอลดทั้งรูปทรง อันเป็นบ่อเกิดแห่งจินตนาการในสุนทรียภาพที่สะท้อนออกมาในจังหวะและลีลาของความเคลื่อนไหวของเส้นที่มีเอกภาพในตัวเอง My sculpture thesis intends to express the feeling of form about rhythm and manner of living things, movement in basic-nature such as man, animals and plants which express manner of movement. To find beauty of form which comes from creation by using “lines” as media to transmit logical and lawful in nature, theemotion and feeling. It is harmonized with imagination and the way of creating form as my opinion by using geomatrical structure that make harmony with rhythm and manner in human and animals’ movement. They produce mew form to stress feeling of liveliness, power of lines and form that express feeling of moving along to rhythm and manner in basic-nature and to find artistic-value of lines and form to have logically perfection in themselves which lead to have unity.
“Lines” in my sculpture is like the trace of recording life-memory which originates from consciousness on emptiness that surrounds psycho-model to make one see artistic-value of sculpture that come from creating as form which express movement of living things in various manners to harmonize with my idealism that appreciate nature that have reason, law and perfection in itself and have beauty in shape, form and various natural colors, which I take to be basic to find beauty of form by creating and evolution of lines as purpose.
My sculptures begin from emptiness and form with consciousness in law and natural reality. They are harmonized with opion in creating form by using “lines” as media to record artistic-experience in my life to make my works have esthetic and unity of form which reflect inner feeling about “ rhythm and manner of movement”. They express live lines and power in lines and form to harmonized with external space that surround form and internal space of skeletal form.
Therefore the characteristic of lines that create form as my purpose, have special importance because when lines originate and end, so it must replace various feeling as will completely in the same lives, it’s size varies from thick lines to thin lines and turn back to thick lines as rhythm and manner of composition for stressing movement of lines or volume of lines which are round, oval or mixed aspects according to composition in rhythm and manner of movement in form.
And trifling unit-form which compose as all forms to have continuity and relation from the same is to continue with big size, later to small size until the smallest in structure of circle, at last the smallest size will meet the biggest size. When they are seen, so have feeling in movement in other aspect which is movement of form and lines that circulate continually all the time. All those for finding quality of lines and composition to feel liveliness, powerfulness and continuous relation movement until it becomes unity in form.
Developping form to get relation to my imagination, I receive inspiration in creating form and feeling from experience and living things in nature-man, animals and plants to find beauty of lines by using geometrical structure which apply to harmonize with contents of nature and imagination, expressing manner in movement aspect as leading point to find liveliness, powerful in line and form that create again for reflecting inner feeling and unity in works.
According to my purpose elements for creating lines as form are consist of
- Relationship of lines and space which result logical contents and feeling
- Sureness of using lines (size of lines, characteristic and proportion of lines) which will create the unity of form
- Plainness of lines (to create texture in order to emphasize clear movement)
- The simplicity of form.
The characteristic that reflect my sculpture are created by lines, become skeletal form as rhythm and manner of movement which is composed as form with various characteristics of lines make relation with internal space and external air of form in terms which fixed by lines. So my sculpture can be seen through lines. We can see the inner lines that are placed side by side each other. However the form seems to change whenever we look at the work in different angles particularly, the change of rhythm and movement of lines which are mainly inspined me esthetically.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประติมากรรม
Collections:
Total Download:
160