การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทานเรื่องที่ 1 - 19

Other Title:
An analytical study of the Divyavadana : Avadanas 1-19
Author:
Advisor:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความทิวยาวทานจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย และเพื่อการศึกษาความเป็นมาและลักษณะของทิวยาวทาน รวมทั้งภาพสะท้อนทางด้านต่าง ๆ ที่ปรากฎในทิวยาวทาน
เบื้องต้น ผู้วิจัยได้ปริวรรตทิวยาวทานจากอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทย และแปลความทิวยาวทานต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย จากนั้นก็ได้ศึกษาวิเคราะห์ทิวยาวทานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาพบว่า คำว่า อวทาน ปรากฎทั้งในงานวรรณคดีภาษาแบบพระเวท ภาษาสันสกฤตมาตรฐานและภาษาสันสกฤตแบบผสม ซึ่งความหมายที่พบใช้ก็สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของวรรณคดียุคนั้น ๆ อวทานยุคเริ่มแรก มีแหล่งที่มาจากคัมภีร์เก่า ๆ คือ พระสูตร พระวินัย พอมาในชั้นหลัง ส่วนใหญ่จะนำเนื้อหามาจากอวทานที่มีมาแต่เดิม อวทานในยุคแรก ๆ มักไม่ปรากฏระยะเวลาและนามผู้ประพันธ์ ภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาที่เรียบง่าย กล่าวคือ ใช้สำนวนซ้ำไปซ้ำมา เนื่องจากมุ่งเน้นสั่งสอนหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลัก เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความประณีตในการใช้ภาษาประพันธ์เริ่มเพิ่มมากขึ้น ปรากฎการใช้อลังการทั้งทางเสียงและทางความหมาย รูปแบบการประพันธ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากแต่เดิม ที่เป็นร้อยแก้วสลับด้วยร้อยกรอง ภายหลังผู้ประพันธ์เริ่มนำรูปแบบการประพันธ์ที่เป็นร้อยกรองล้วนมาใช้ มีการเลือกสรรคำ ให้ความสำคัญกับการประดับตกแต่งทางภาษา แต่ถึงกระนั้น ในเรื่องของสาระสำคัญที่วรรณคดีประเภทอวทานมุ่งเน้นคือ การสั่งสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาก็มิได้ลดหย่อนลงไปแม้แต่น้อย
ทิวยาวทาน เป็นคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาสันสกฤต ที่รวมเรื่องราวไว้จำนวน 38 เรื่อง เป็นวรรณคดีประเภทอวทานในยุคแรกเริ่ม ซึ่งไม่ปรากฎนามผู้ประพันธ์ และน่าเรียบเรียงขึ้นก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 หรือก่อนนั้น ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 และรวบรวมเสร็จไม่น่าจะเกินคริสต์ศตวรรษที่ 4 อีกทั้งเนื้อเรื่องบางส่วนของทิวยาวทาน น่าจะเรียบเรียงขึ้นราว 200 ปีก่อนคริสตกาลและเรียบเรียงเสร็จราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 การจัดวางรูปแบบของคัมภีร์นี้ไม่มีความเชื่อมต่อกัน ทิวยาวทานส่วนที่เป็นร้อยแก้วประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตมาตรฐาน โดยเฉพาะในส่วนท้ายคัมภีร์มีความเป็นสันสกฤตมาตรฐานอย่างสมบูรณ์ ยกเว้นส่วนที่เป็นร้อยกรองเท่านั้นที่ประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตผสม รูปแบบการประพันธ์เป็นแบบจัมปู การใช้ภาษาในอวทานแต่ละเรื่อง มีทั้งส่วนใช้ภาษาที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนที่ใช้ภาษาอย่างประณีตพรรณนาเรื่องไว้อย่างเด่นชัด มีการเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ ปรากฏทั้งศัพทาลังการและอรรถาลังการ
เรื่องราวที่ปรากฎในทิวยาวทานประกอบไปด้วย ข้อมูลที่สำคัญสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ของชีวิตผู้คนในครั้งพุทธกาล หรือช่วงต้นหลังพุทธกาล มีรูปแบบการปกครองประกอบไปด้วยระบบราชาธิปไตย ที่หน้าที่การปกครองเป็นของกษัตริย์ ทั้งในรูปแบบที่กษัตริย์มีอำนาจโดยเด็ดขาด และกษัตริย์ไม่ใช่ผู้มีอำนาจสูงสุด แต่เป็นผู้ใช้อำนาจในทางที่ถูกที่ควร และปรากฎรูปแบบการปกครองระบบคณาธิปไตย
ด้านสังคม ระบบสังคมยังคงปรากฎระบบวรรณะอยู่ ส่วนบทบาทของคนในสังคมอินเดียในยุคสมัยนั้น ยังคงแบ่งหน้าที่กันชัดเจนตามระบบวรรณะทั้ง 4 และอินเดียในยุคสมัยนั้น นับว่าเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจมาก อาชีพหลักของผู้คนในสมัยนั้นมีอยู่สองภาค ส่วนใหญ่ ๆ คือ ภาคการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย การเพาะปลูกและการปศุสัตว์ และภาคการพาณิชย์ ซึ่งมีทั้งการค้าในส่วนภาคพื้นทวีป และการค้าทางมหาสมุทร ในการจัดการศึกษา เด็กทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคโดยไม่มีการจำกัดชนชั้นวรรณะ
ด้านวัฒนธรรมและประเพณี สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการบริโภค การแต่งกายของยุคสมัยนั้น โดยได้กล่าวถึงชื่อของอาหาร เครื่องดื่มต่าง ๆ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ แม้ว่าทิวยาวทานจะเป็นวรรณคดีพระพุทธศาสนา ที่มุ่งเน้นนำเสนอหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ทว่ายังสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตแบบพราหมณ์-ฮินดู โดยเฉพาะพิธีที่ต้องปฏิบัติในแต่ละช่วงระยะเวลาของชีวิตหรือพิธีลังสการ
ด้านศาสนา กล่าวถึงหลักความเชื่อ ซึ่งจะมุ่งเน้นสอนให้เชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าและเรื่องกรรม และยังเน้นให้ปฏิบัติตามหลักกรรมบถ อีกทั้งมีการกล่าวถึงพุทธศาสนสถาน คือ สถูปและเจดีย์ และรูปแบบของกรสักการะในยุคสมัยนั้น ซึ่งมีอย่างต่าง ๆ เช่น การถวายก้อนดินเหนียว ดอกไม้ พวงมาลัย ประทีป เป็นต้น This thesis aims at translating the Divyavadana from Sanskrit text into Thai and also studying the history, characteristics, and the other reflection of it.
Initially, the researcher transliterated the Divyavadana from the Devanagari alphabet into the Thai alphabet and translated the Divyavadana from Sanskrit text into Thai. Then it has been studied and analyzed as the aims are specified.
The result of study shows that Avadana’s words had appeared in many genres of the literature: the Vedic language, the classical Sanskrit, and the mixed Sanskrit, Its meaning involved with the contents of the literature in that age. It had a source of the old scripture: Sutra and Vinaya. Its contents had been referred after. Time of its writing and author’s name had not been specified in the first age. Its language was easy and simple and smooth without the repeated idioms, because Buddhist Dharmma had been emphasized. When the long time had passed, the beauty in the composition was applied more and more. The beauty of its rhythm and meaning was found more. The formation of writing as the composition was changed into the composition with poesy. After time to time, author started forming his work as the pure poetry what had been made beautifully, but Dharma in Buddhism was not devalued.
Buddhist Sanskrit Divyavadana was collected for the thirty-eight stories, which were the literacy Avadana in the first age, which did not specify the author’s name, and were written before the third century A.D. or before that in first century. Then it had been already written and collected around the century VI, including its content of them might be composed about two hundred years ago before the Chirst era and were finished on the century VII. So its formation was not connected together smoothly. Divyavadana prose was written by pure standard Sanskrit. Specially, it was the absolute and standard in the final part except for the part of poesy what was written on the mixed Sanskrit and on its formation as Champu. Some stories had either of which the simple or the great language narrated to compare on aureate language and exposition of thesaurus so that the readers could imagine on it.
The most important information reflected the life’s way of people had lived in early Buddhist era. Their systems of rule were the monarchy system: either the absolute or properly monarchy rule including the oligarchy.
For the society, the social system had the caste, but the role of people in India in that age was provided on the order of the four castes. Exactly, India in the past was the most prosperity in the economy. Their occupations were divided into two parts: agriculture what consisted of the plants and trade on the different continents and on the sea. For an education, children had the equal to it without bias on account of the caste.
For the culture or the tradition, it reflected the materiallsm specified on the names of food, beverage, and ornament. Althrough Divyavadana was the literature to expose the life’s way of the people in the old age, it had reflected the rules and rites in each time.
For the religions, it was meant to faith in Buddhism emphasizing the history of the Buddha and Karma including the practice along the law of Karma. Moreover, it is said that there had the pagodas in Buddhism and many worshiping matters such as soil, flowers garlands, and oil for the fire.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด. (ภาษาสันสกฤต))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
ภาษาสันสกฤต
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
263