มนตร์ไภษัชยะ : การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าทางวรรณคดีและการแพทย์ในอถรรพเวท

ชื่อเรื่องอื่น:
The Bhaisajay : an analytical study of the literary and medical values in Atharvaveda
ผู้แต่ง:
วันที่:
2013
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อแปลมนตร์ไภษัชยะจากคัมภีร์อถรรพเวท ฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย 2. เพื่อนำเสนอด้านการแพทย์ในอถรรพเวทซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดรรชนีแรกแห่งความเจริญของอารยธรรมตะวันออก 3. เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาทางวรรณคดี โดยเน้นลักษณะคำประพันธ์ประเภทมนตร์ ตามลักษณะเฉพาะที่ปรากฎของคัมภีร์อถรรพเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์โบราณที่สมบูรณ์ และมีเอกลักษณ์อีกเล่มหนึ่งของโลก โดยต้นฉบับอถรรพเวทที่นำมาศึกษานั้น ยึดต้นฉบับภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครีตามตำราชื่อ Atharvaveda with The Pada-Patha and Sayanacarya’s Commentary. พิมพ์ที่เทว ทัต ศาสตรี เมืองโอศิอรปุระ เมื่อปี ค.ศ. 1962 ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาคือ ผู้วิจัยได้สืบค้นเอกสารต้นฉบับอถรรพเวทที่เหมาะสมในการนำมาศึกษา โดยพิจารณาความสมบูรณ์ของเนื้อหาและความชัดเจน แล้วจึงเริ่มแปลเอกสารตามหลักการจำแนกมนตร์ ตามที่กล่าวมาในขอบเขตการวิจัยจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาไทย โดยคำนึงถึงรูปประโยคในภาษาไทยเป็นหลัก แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำตามระเบียบวิธีวิจัยที่กำหนดเป้าหมายไว้ จากนั้นจึงสรุปผลแล้วนำเสนอ
ผลการศึกษาพบว่า มนตร์ไภษัชยะเป็นมนตร์ที่ยาวที่สุดในคัมภีร์อถรรพเวทมีทั้งสิ้น 390 มนตร์ ซึ่งแต่ละมนตร์ล้วนถูกแต่งให้งดงามด้วยอลังการชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะอลังการทางความหมายที่มีความโดดเด่นมาก จากการศึกษานั้นพบถึง 14 ชนิด และปรากฏการใช้ฉันท์ 12 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่มีการใช้มากที่สุด คือ อนุษฏุป นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้พบโรคในมนตร์ไภษัชยะทั้งสิ้น 22 โรค พบตัวยาที่ใช้ในการรักษาทั้งสิ้น 33 ชนิด และยังพบวิธีการรักษาเพิ่มเติมอีก 7 วิธี ซึ่งพบวิธีที่สำคัญมากที่สุดในการรักษานั่นก็คือ การใช้มนตร์บริกรรมในการรักษา The objective of thesis is threefold: Firstly, to translate the original text in Sanskrit into Thai, secondly to find out the medical system in the Atharaveda which is the index that shows the progress of East Civilization, and thirdly to analyze the form and content of literature, focusing on the nature of poetry charmed by the unique style of the Atharaveda. The study is based on original Sanskrit text of Atharaveda with the Pada-Patha and Sayanacarya’s Commentary printed in Dev Datt Shastri at the V.V.R.I.Hohhiarpura 1962.
The results showed that The Bhaisajya magical formulas (Mantra) are the longest in the Atharaveda and there are 390 Mantras. Each mantra is embellished with different kinds of Alankara which has elegant and remarkable meaning. From the study it is found that up to 14 kinds of Alankara and numerous types of the meters are used, especially Anustubh. In addition, researchers have found that the diseases in the Bhaisajya magical formulas are of 22 kinds and the drugs used in the treatment of 33 species. Three different ways of treatment were also found, the most important of which is the treatment that uses magical formulas (Mantras).
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาสันสกฤต))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
ภาษาสันสกฤต
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
158