พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครปฐมโบราณในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19

Other Title:
The cultural development of ancient Nakhon Pathom prior to the 14th Century A.D.
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งมั่นศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครปฐมโบราณ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จนถึงช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดี 3 แห่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2553 ได้แก่ วัดทรงธรรมกัลยาณี แหล่งหอเอก และแหล่งในเขตตำบลธรรมศาลา ผลการศึกษาสามารถจัดแบ่งลำดับพัฒนาการของเมืองนครปฐมโบราณ ได้เป็น 4 ระยะ คือ
1) นครปฐมโบราณระยะที่ 1 (ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11): หลักฐานโบราณคดีจากแหล่งหอเอก
บ่งชี้ว่า ก่อนจะมีการสร้างเมืองขึ้น คงมีชุมชนอยู่อาศัยมาก่อนแล้วในลักษณะหมู่บ้าน และชุมชนนี้มีการติดต่อกับชุมชนโบราณหรือเมืองท่าร่วมสมัยที่รุ้จักคุ้นเคยกับวัฒนธรรมอินเดียแล้ว
2) นครปฐมโบราณระยะที่ 2 (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13): วัฒนธรรมอินเดียเป็นปัจจัยสำคัญอัน
ส่งสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชนระยะแรกเริ่มให้เจริญขึ้นเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ มีการปกครองในระบบกษัตริย์ มีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรกรรมและการค้า ประชาชรต่างยอมรับนับถือในพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาขึ้นเป็นจำนวนมาก ความรุ่งเรื่องต่างๆส่งผลให้เมืองนครปฐมโบราณกลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมทวารวดีอย่างแท้จริง
3) นครปฐมโบราณระยะที่ 3 (ราวพุทธศตวรรษที่ 14-16): หลักฐานจากแหล่งหอเอกและธรรม
ศาลาต่างแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางวัฒธรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 14 โดยเป็นผลงานมาจากการติดต่อค้าขายต่างถิ่นที่มีมากขึ้นโดยเฉพาะกับศรีวิชัย ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิสาสตร์จนทำให้เมืองนครปฐมโบราณต้องเสื่อมลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 16
4) นครปฐมโบราณระยะที่ 4(ราวพุทธศวรรตที่ 17 -18 ): ถึงแม้จะไม่พบชั้นวัฒธนธรรมช่วงหลัง
จากพุทธศตวรรษที่ 16 ภายในหลุมขุดค้น แต่ก็ได้พบประติมากรรมแบบศิลปะเขมร รสสมัยนครวัดและสมัยบายนที่เมืองนครปฐมโบราณ โดยมีความเกี่ยวกของกับการเจริญขึ้นของเมืองสระโกสินนารายณ์ในเขตอำเภอบ้านโปร่ง จังหวัดราชบุรี อันสัมพันธ์กับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ได้แพร่หลายเข้ามายังบริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย The objective of the research is to study the cultural development of the ancient town of Nakhon Pathom from the beginning to the 14th century A.D., based on data of the excavations of three sites (Wat Songdhammakalyani, Hor-Ek and Dhammasaia) carried out in 2009-2010. The results demonstrate that the cultural sequences of ancient Nakhon Pathom can be divided into 4 phases as following:
1) Ancient Nakhon Pathom phase l (ca.3rd - 6th century A.D.): The evidence
uncovered from the excavation at Hor-Ek suggests that initial human occupation at the site began as early as the 3rd century, the time before the city was constructed. In addition, when considering the similarity between the artifacts found from the site and those typical of Indian civilization, it is likely that the early community had established a connection with other contemporary sites and seaports in Southeast Asia.
2) Ancient Nakhon Pathom Phase ll (ca.7th - 8th century A.D.): This phase saw a
strong Indian influence as a main factor contributing to growth of the early community into a large city. The city was ruled by a monarchy. The economy relied on agriculture and trade. The majority of the people believed in Theravada Buddhism and built a substantial number of religious artworks and monuments. Therefore. this phase represents the period when the ancient Nakhon Pathom became a major Dvaravati site.
3) Ancient Nakhon Pathom Phase lll (ca. 9th -11th .D.):The archaeological Record
found at Hor-Ek and Dhammasala suggests that there was a cultural change probably due to a result of the commerce between the ancient Nakhon Pathom and Srivijaya, which started around the 9th century A.D
However, the ancient city came to an end around the 11th century, according to the geographical change.
4) Ancient Nakhon Pathom Phase IV(ca. 12th -13th century A.D.):Results of the
excavations show that the city was abandoned temporarily after the 11th century. Later, around the 12th -13th century, Khmer culture was introduced into the area as evidenced by the discovery of sculptures in Angkor Wat and Bayon styles. These sculptures are comparable with those others from Bayon sites, particularly the old town of Sra Kosi Narai in Ratchaburi Province. These data correspond to khmer influence during the reign of Jayavarman Vll that spread throughout and western Thailand.
Description:
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Temporal Coverage:
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
55
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ตลาดนัดกับบทบาทผู้บริโภค : กรณีศึกษาตลาดนัดวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต. นครปฐม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม
Type: Thesisมธุกร ตปนีย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2000) -
การปรับตัวของผู้สูอายุในเขตเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Type: Thesisรุจิรางค์ แอกทอง; Rujirang Agthong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006) -
พฤติกรรมการป้องกันการกระทำรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Type: Thesisกรรณิกา อ่างทอง; Kannika Angthong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)