กรุงธนบุรีในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์

Other Title:
Thonburi city during Ayutthaya and early Rattanakosin periods
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางกายภาพของเมืองธนบุรีในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ โดยใช้หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการสำรวจร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาตร์โบราณคดีที่ยังคงเหลืออยู่ และการขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ คลองคูเมืองเดิมธนบุรี (คลองบ้านขมิ้น) กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)
จากการศึกษาวิจัยพบว่าชุมชนธนบุรีมีพัฒนาการมาจากการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเกษตรกรรมริมน้ำแบบกระจัดกระจายโดยมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง ชุมชนจะมีความหนาแน่นมากบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม การเข้ามาของชาวตะวันตกโดยเฉพาะเพื่อการพาณิชย์นานาชาติทำให้มีการขุดคลองลัด คลองลัดที่เกิดขึ้นทำให้ภูมิลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปโดยเมืองได้ขยายไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมือง การกลายเป็นเมืองของธนบุรีนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ คือ ชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ย่าน และบ้านเมือง ทำเล ที่ตั้ง ควมอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และผลิตผลทางการเกษตร
นอกจากนั้น การศึกษาทางโบราณคดีได้เพิ่มพูนประเด็นรายละเอียดต่างๆที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึง ได้แก่ ลักษณะและขอบเขตของตัวเมืองบางกอก ลักษณะของป้อมปราการและกำแพงเมืองธนบุรี ผู้ศึกษาเสนอว่าควรมีการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อตรวจสอบประเด็นสำคัญต่างๆ คือ ชุมชนธนบุรีในระยะเริ่มแรก ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองและขอบเขตของเมืองในอดีต และกำแพงเมืองบางกอกและควรมีการสำรวจทางโบราณคดีเพิ่มเติมในพื้นที่ตามริมน้ำและลำคลองสำคัญในพื้นที่ใกล้เคียง The objective of the research is to study the physical development of Thon Buri city by integrate the knowledge of Thon Buri history during Ayutthaya and early Rattanakosin periods with archaeological evidences from the survey of historical and archaeological traces and the excavation of 4 sites, Vichai Prasit Fort, the rampart and moat of Thon Buri city (Bankamin Canal), the former of minister of commerce area and the former of Thonburi station area
The results demonstrate that the settlement at Thon Buri is developed from the agriculture villages, which located along the former Chao Phraya river and canal. The western part of the former of Chao Phraya river was more density of community than the eastern part After a manmade straight shortcut canal was dug during the reign of the King Phara Chai Racha(A.D.1524-1546), the appearance of the Thon Buri had been changed. However, the urbanization of Thon Buri was developed from the following factors: community, a relatively large, dense and permanent settlement, strategic location and fertilization.Archaeological evidences prosper and bring to together diverse source materials to more details of the historical knowledge which the historical record could not provided such as the form and boundary of Bangkok city, the appearance of Thon Buri forts and city wall, and the level of ancient floor etc. Many issues should be examined by using archaeological survey and excavation method such as the outer ancient settlement around the city, the location, boundary and form of city.
Description:
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Temporal Coverage:
กรุงธนบุรี, 2310-2325
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
41
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
จิตรกรรมฝาผนังภาพไตรภูมิโลกสัณฐานในอุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ธนบุรี : ความเหมือนคล้ายและความแตกต่างกับที่อุโบสถวัดดุสิดาราม บางกอกน้อย ธนบุรี
Type: Thesisพันธุ์ยุทธ มีชาญเชาว์; Phanyut Meechanchaw (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006)การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบภาพไตรภูมิในงานจิตรกรรมฝาผนัง โดยจะใช้อุโบสถวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ธนบุรี เป็นกรณีศึกษาและเพื่อความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องของรูปแบบศิลปะ ... -
ประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรี
Type: Thesisเรวดี บุนนาค (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1969) -
การศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานบริเวณคลองด่าน ธนบุรี (วัดหนัง, วัดนางนอง, วัดนางชี, วัดราชโอรสาราม)
Type: Thesisกิ่งนภา จันทร์ดี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1989)