แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในบ้านเขาทุเรียน ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

Other Title:
Model for management lifelong learning centre at Khaodurian Community, Tambon Khaphra, Amphoe Muang, Nakhon Nayok Province
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจ และศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดายในบ้านเขาทุเรียน ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก สำหรับใช้จัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ ประกอบการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ในท้องถิ่นที่บ้านเขาทุเรียน และ 2) นำเสนอแนวทางพร้อมแผนปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการจัดการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งมีองค์ความรู้ที่ได้จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีภายในพื้นที่รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง เป็นสาระในการเรียนรู้
การศึกษาพบว่าฐานข้อมูลสาระเรียนรู้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น และชุดข้อมูลทางด้านโบราณคดี และ เห็นว่าแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนบ้านเขาทุเรียน ควรประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วน คือ 1) อาคารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนบ้านเขาทุเรียน และ 2) พื้นที่จัดแสดงที่ตัวแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกันนี้ได้เสนอแผนปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติ ได้และเกิดผลสำเร็จได้จริง
แผ่นปฏิบัติแบ่งเป็น 6 ระยะ และมีองค์กรรับผิดชอบการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยองค์กรดังกล่างควรเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินงานมีฐานอยู่บนความพึงพอใจและความต้องการของกลุ่มประชากรในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง The main objective of this research is to survey and study historical and archaeological information in the areas of Ban Khao Durian and develop databases of knowledge gained are created from this information and will be used for managing a lifelong learning centre. The research intends to present a model and guideline for management as well. The main question of study is which model or guideline is suitable for this area.
Knowledge databases are divided into 2 groups. The first group is historical knowledge and local wisdom, and the second group is archaeological knowledge. The databases were used for preparing a suitable plan for the development of Ban Khao Durian’s lifelong learning centre.
It is proposed that the centre should comprise 2 exhibition sections. The first section is an exhibition hall while the second section is a site museum for studying the World War II history and archaeology as well as local natural resources.
This study also proposes a management plan which includes 6 operational phases. The appropriate organization that should be responsible for the management plan was also suggested.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Spatial Coverage:
บ้านเขาทุเรียน (นครนายก)
เขาพระ (นครนายก)
เขาพระ (นครนายก)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
26