การศึกษาคำศัพท์ภาษาเขมรสุรินทร์ในพิธีกรรมงานศพที่หมู่บ้านทุ่งโก ตำบลหนองเมธี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Other Title:
The study of Surin khmer terms in funeral ritual at Thungko Village, Nongmethi Sub-district, Tha Tum District, Surin Province
Author:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระเบียบพิธีและขั้นตอนของพิธีกรรมงานศพ รวมถึงการรวบรวมและศึกษาความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ในพิธีกรรมงานศพ จากภาษาพูดของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตหมู่บ้านทุ่งโก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550-2553 ผลการศึกษาพบว่า
1. การประกอบพิธีกรรมงานศพ มาจากความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรบ้านทุ่งโก ที่ว่าคนที่ตายไปแล้วนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรรมที่เขาได้กระทำไว้ เมื่อครั้งเขามีชีวิตอยู่และอาศัยส่วนบุญส่วนกุศลที่ญาติพี่น้องได้ทำบุญอุทิศไปให้อันเป็นความเชื่อทั่วไปของคนที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
2. รูปแบบและขั้นตอนของพิธีกรรมงานศพ มักจะปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนและรูปแบบพิธีกรรมที่เคยปฏิบัติมา คือ ก่อนตาย กรณีที่มีคนป่วยหนักญาติพี่น้องเห็นว่าหมดหนทางเยียวยารักษาก็จะนิมนต์พระมาทำพิธีตัดกรรม หลังตาย ญาติพี่น้องจะมอบหมายให้ญาติไปเชิญแขกมาร่วมงานศพ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมาติกา บังสุกุล สวดพระอภิธรรม เทศนา บวชเณร นำศพสู่ป่าช้า และนิมนต์อาจารย์ (สัปเหร่อ) มาสวดสมมุติแต่งตั้งผู้ช่วยอาจารย์ หญิงโปรยข้าวตอก หญิงอุ้มหม้อน้ำ และเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เริ่มจากอาบน้ำศพ มัดตราสัง ทำโลงศพ ทำหน้าที่เผา แปรรูป เก็บอัฐิมาทำบุญสวดมนต์เย็น ยกธงผจญมาร เก็บข้าวสารไว้กวนข้าวทิพย์ ทำบุญตักบาตร ฉลองเณร บรรจุอัฐิและดับไฟเตาครัว เจ้าภาพยกครูแก่อาจารย์และคนที่มาช่วยงาน
3. คำศัพท์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมงานศพที่นำมาศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 159 คำ ประกอบไปด้วยคำศัพท์ใช้เรียกผู้ร่วมพิธี คำเรียกลำดับขั้นตอน และคำที่ใช้เรียกเครื่องประกอบพิธี เช่น พระสงฆ์ อาจารย์ บอกบุญ ขอพร สวดมนต์ เป็นต้น ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้ส่วนมากเป็นคำศัพท์ที่ใช้ทั่วไป ส่วนที่เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในพิธีกรรมงานศพ มีทั้งหมด 28 คำ ส่วนมากอยู่ในกลุ่มคำที่ใช้เรียกเครื่องประกอบพิธีกรรม เช่น กระเชออุทิศสำหรับผู้ตาย ธงนำวิญญาณ ธาตุเจดีย์หรืออัฐิ เป็นต้น The objectives of this research are to study procedures in funeral ritual as well as collect and study Khmer terms employed in funeral ritual from spoken language of Khmer-Thai villagers at Thungko village, Tha Tum district, Surin province, from 2007 to 2010. The results are as follows.
1. The tradition of funeral ritual is derived from the belief of Khmer-Thais at Thungko village. It is believed that after death the well-being of the dead depends on their karma previously performed when they were alive, and relies on merit-making performed by their relatives who wish the dead to have a good well-being after death.
2. The steps of this funeral ritual started even when the patient is in critical and coma state. His or her relatives invite monks to perform the Karma-cutting ceremony. After death, the relatives of the dead invite guests to attend the funeral ritual, and invite monks to conduct, all funeral rituals, including chanting Matika Bangsukul, chanting Abhidharma, delivering sermons, ordaining novices, and taking the dead body to the graveyard. The relatives of the dead also ask an undertaker to designate an undertaker assistant, women carrying popping grain, and women carrying pot. The undertaker also conducts funeral ceremonies, including bathing the dead body, knotting the dead body, decorating the coffin, cremating the dead, and collecting the bones of the dead. The funeral rituals also include the performing evening chants, flagging against devils, making auspicious rice, making merit, celebrating novices, keeping the bones, and setting off the fire. The hosts of the funeral rituals pay respect to undertaker and attendants contributing to the funeral rituals.
3. There are 159 Khmer terms employing in funeral rituals already studied in this research, including address terms of attendants, sequences, and rituals items, such as monks, undertaker, invitation of attendants, blessing, praying etc. Many of these terms are general. There are 28 technical terms for procedure in funeral ritual. Many of word groups are employed for ceremony equipment such as container for dead people, flag for leading their soul, and bone of dead people etc.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
236
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาคำศัพท์ภาษาเขมรสุรินทร์ในพิธีกรรมงานศพที่หมู่บ้านทุ่งโก ตำบลหนองเมธี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Collection: Theses (Master's degree) – Khmer Studies / วิทยานิพนธ์ – เขมรศึกษาType: Thesisพระฉลอง แสนดี; Chalong Sandee; ฉลอง แสนดี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระเบียบพิธีและขั้นตอนของพิธีกรรมงานศพ รวมถึงการรวบรวมและศึกษาความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ในพิธีกรรมงานศพ จากภาษาพูดของชาวไทยเชื้อชาติสายเขมรในเขตหมู่บ้านทุ่งโก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ... -
โครงการออกแบบตกแต่งภายในศูนย์วัฒนธรรมสุรินทร์ สุรินทร์
Collection: Theses (Master's degree) - Visual Communication Design / วิทยานิพนธ์ – การออกแบบนิเทศศิลป์Type: Thesisปรารถนา ทรงวาจา (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisนฤศรา แก้วกูล; Naritsara Kaewkool (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2008)