การศึกษาวิเคราะห์การทำบุญในจารึกนครวัดสมัยหลังพระนคร

Other Title:
An analytical study of making merit in inscriptins moderns d'Angkor (IMA)
Author:
Date:
2008
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จารึกนครวัดสมัยหลังพระนคร (IMA) ที่นำมาใช้ศึกษาครั้งนี้มี 40 หลัก เป็นจารึกอยู่ที่เสาระเบียงปราสาทนครวัด ที่เรียกว่า ปากาณ และ พระพัน และมีจารึกหลักใหญ่ที่สุดอีกหนึ่งหลักอยู่ที่ระเบียงภาพสลักชั้นที่หนึ่ง กำหนดอายุสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ทุกหลักได้เล่าเรื่องการทำบุญในพุทธศาสนา และมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แทรกอยู่บ้าง
เมื่อพิจารณารูปแบบการทำบุญในจารึกนครวัดสมัยพระนครตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ พบว่า ผู้คนในช่วงสมัยหลังพระนครนั้นนิยมทำบุญด้วยการให้ทาน (ทานมัย) มากที่สุด สิ่งของบริจาคที่เป็นศาสนวัตถุมี 13 ชนิด สิ่งที่นิยมถวายเป็นทานมากที่สุด คือ พระพุทธรูป รองลงมาเป็นธงเพดาน และคัมภีร์ตามลำดับ สิ่งของบริจาคที่เป็นศาสนสถาน ได้แก่ ปราสาท พระเจดีย์ และพระวิหาร ซึ่งพบในจารึกนี้น้อยมาก และสิ่งของอื่น ๆ นอกจากนี้พบว่ามีการบริจาคเป็นเงินมากที่สุด รองลงมาเป็นผ้าและเครื่องนุ่งห่ม และอาหารตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่ามีการให้ทานด้วยการบริจาคชีวิต มีทั้งการขายตัวเป็นค่าทองปิดองค์พระ, ยกลูกให้เป็นทานแล้วซื้อคืน, ให้ข้าทาสบวชเป็นพรรณนาศรมและให้บวชเพื่อพ้นจากหนี้, การปล่อยทาส
นอกจากนี้ การทำบุญอีก 2 รูปแบบ ได้แก่ การให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) และการอนุโมทนาส่วนบุญของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนา) ก็เป็นที่นิยมทำกันมาก นอกจากนี้ได้พบการทำบุญด้วยการประพฤติถ่อมตน (อปจายนมัย) ปฏิบัติโดยการสักการบูชาพระพุทธรูปและการถวายบังคมต่อพระนครวัด การทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามเป็นจริง (ทิฏฐุชุกัมม) กระทำโดยการระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำมา และความเห็นถึงอนิจจังความไม่เที่ยว การทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) ที่พบในจารึกนี้ปฏิบัติโดยการช่วยในงานพิธีต่าง ๆ และการพัฒนาทางจิตใจ คือ การทำบุญด้วยการภาวนา (ภาวนามัย) กระทำโดยการบวช ส่วนการทำบุญที่พบน้อยมากมี 3 รูปแบบ ได้แก่ การทำบุญด้วยการแสดงธรรม (ธัมมัสเทสนามัย), การทำบุญด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) และการรักษาศีล (สีลมัย) Insciptions Modernes d’ Angkor (IMA) is a book containing the contents of 40 inscription mostly inscribed on the inner gallery of Angkor Wat which is called in Khmer language as “Pakan” and “Phra Phan”. All these archaeological evidences, dated between 16-17 centuries A.D., show the ancient history of Cambodia including the merit-making in Buddhism.
This independent study has focused on the way of life and forms of merit-making practiced by Khmer people who lived in that period called by scholars as “Post-Angkorian period”. For simply understanding, this work utilizes 10 meritorious actions called in Pali as “Bankiriyawatthu” to consider how post-Angkorian people made merit in Buddhism.
When considered the form of making merit in Inscriptions Modernes d’ Angkor by Bunkiriya watthu 10, it is evident that donation or “Dannamaya” is the most popular way to make merit. The Post Angkorians denated 13 different things such as foods, Buddha’s image, flags. Copied of Buddhist cannon in palm leaves, stupas, pagodas and merit-making hall or Vihara. It is very interesting that some of them sold themselves for the gold in order to gild the Buddha’s images and some freed their slaves by ordaining them to become monks and novices in front of the honorable withnesses.
Besides, two meritorious acts, i.e. transference of merit (Pattidanamaya) and Rejoicing in other’s merit (Pattanumodanamaya) were also widely performed. Furthermore, the reverence (Apacayanamaya) was practiced by paying respect to Buddha’s image and Angkor Wat. The correcting one’s view in accordance with Buddha’s teaching (Ditthujukamma) was performed by re-thinking one’s merit done and the impermanence of all things. The Service in helping others (Veyyavaccamaya) was also found in these inscriptions in the form of arduously helping others in rituals and mental development (Bhavanamaya) in the form of ordination. Whereas, the meritorious acts hardly found were as follows : (1) preaching Buddha’s teachings (Dhammadesanamaya), (2) listening his sermons (Dhammassavanamaya) and (3) Moral conduct (Silamaya).
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
120