ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน : กรณีศึกษาปราสาทนครวัดและปราสาทบายน

Other Title:
Banner in bas-relief of Khmer style in Angkor Wat and Bayon period : a case study of Angkor Wat and Bayon
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการใช้ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัด และบายน
สารนิพนธ์ฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 6 บท คือ บทที่ 1 กล่าวถึงความสำคัญของธงในอาณาจักรเขมรโบราณซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย บทที่ 2 เรื่องประวัติความเป็นมาของธงในประเทศอินเดีย บทที่ 3 เรื่องหลักฐานการใช้ธงในอาณาจักรเขมรโบราณ ทั้งหลักฐานทางด้านเอกสาร และ หลักฐานทางด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์รูปแบบการใช้ธงในอาราจักรเขมรโบราณ บทที่ 5 เป็นเรื่องของวิวัฒนาการของธงในในภาพสลักเล่าเรื่องของทั้งสองสมัย บทที่ 6 เป็นบทสรุป
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของธงสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ธงยาว ใช้สำหรับบอกความสำคัญของบุคคลที่อยู่ในภาพสลัก
2. ธงผืนใหญ่มีชายเป็นริ้ว ใช้สำหรับแบ่งแยกกองทัพของแต่ละชาติที่มีลวดลายบนผืนธงแตกต่างกันไป
3. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้ประกอบอยู่ในกองทัพเรือ โดยปักอยู่ตรงหัวเรือ
รูปแบบของธงทั้ง 3 ประเภทนี้ ได้มีการพัฒนาการตั้งแต่สมัยนครวัด และสมัยบายน เพื่อใช้ในกองทัพ และใช้ในการบูชาเทพเจ้า ดังปรากฏอยู่ในภาพสลักเล่าเรื่องที่ปราสาทนครวัด และ ปราสาทบายน
การใช้ธงในอาณาจักรเขมรโบราณนี้ไม่เพียงอยู่ในอาณาจักรเขมรโบราณเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงอาณาจักรใกล้เคียงในยุคต่อมา ได้แก่ อาณาจักรอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากในตำราพิชัยสงครามของทั้งสองสมัย และใช้เป็นเครื่องประกอบในขบวนอิสริยยศ ของขบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค This master’s report is an analytical study of forming of banner’s using on bas-relief in Angkor Wat and Bayon style.
It is divided into 6 chapters. In the introduction it deals with significance of banner in ancient Khmer empire, that has been influenced from India. The second deals with history of banner in India. The third is study of documentary and archaeological evidence. The forth is an analysis forming banner’s using in ancient Khmer empire. The fifth is evolution of banner on bas-relief both period. And the last chapter is the conclustion.
The results of study are as follows :
1. Long shape banner : use for important person in bas-relief.
2. Big banner which the end of a pennant is stripe : use for separate army in each nation. There is pattern in different style.
3. Triangle banner : use in Navy by to pitching on the bow.
All type of banners had developed since Angkor Wat until Bayon period. For use in army and pilgrim for the god, that can find in bas-relief at Angkor wat and Bayon.
A forming of banner’s using in Ancient Khmer Empire have influence to other empire which was around it in the next period such as Ayutthaya and Rattanakosin period etc. We can see in a book of war strategy in both period and using for decoration in a man of rank parade of to move in force.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
111
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาตึกแถวบริเวณย่านการค้าเก่าในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทย
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisธนรัชต์ ถาวโรจน์; Dhanaraj Thavaroj (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจถึงมูลเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมตึกแถว และพัฒนาการของรูปแบบในแต่ละย่านการค้าเก่าของชุมชนในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาด้านพื้นที่บริเวณถนนอาเนาะ ... -
ทักษะการบริหารกับผลการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Collection: Theses (Master's degree) - Educational Administration / วิทยานิพนธ์ - การบริหารการศึกษาType: Thesisกัลยกร หอมเพชร; Kanyakorn Homphet (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009) -
การวางแผนการผลิตที่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องจักรตัดผ้าอัตโนมัติและโต๊ะตัดในการใช้พนักงานปูและตัด:กรณีที่มีเครื่องจักรตัดผ้าอัตโนมัติหลายขนาด
Collection: Theses (Master's degree) - Industrial Engineering & Management / วิทยานิพนธ์ - วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการType: Thesisคงสิทธิ์ ลิ้มขจรเดช; Kongsit Limpkajohnde (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011)