การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานเรื่องสตราอภิธรรมกำเนิด

Other Title:
Cohesion in Northern Thai dialect of Chae Hom District, Lampang Province
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง สตราอภิธรรมกำเนิด โดยศึกษาจากคัมภีร์ใบลาน จำนวน 1 ผูก 32 หน้าลาน ฉบับวัดคันธารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ปรากฏชื่อผู้จารคือ พระภิกฺษุกีย์ ในปี พ.ศ. 2487
สารนิพนธ์ฉบับนี้แบ่งออกเป็น 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของวรรณกรรมเรื่อง สตราอภิธรรมกำเนิด ซึ่งเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนามีเนื้อหาเกี่ยวกับคัมภีร์พระอภิธรรม ทั้งเรื่องพุทธประวัติและเรื่องหลักคำสอน บทที่ 2 เรื่องอักษรและอักขรวิธีขอมที่ใช้บันทึกในใบลาน บทที่ 3 เรื่องประวัติความเป็นมา จุดมุ่งหมายของเรื่อง กลวิธีการประพันธ์ และการใช้ถ้อยคำสำนวน บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่องภาพสะท้อนจากวรรณกรรมและ บทที่ 5 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผลจากการศึกษาทำให้ทราบว่า อักษรและอักขรวิธีในใบลานเป็นอักษรขอมรูปแบบอักษรคล้ายกับอักษรเขมรสมัยปัจจุบัน แต่รูปแบบอักขรวิธีนั้นมีลักษณะหลายอย่างเหมือนกับอักชรวิธีในสมัยหลังพระนคร วรรณกรรมสตราอภิธรรมกำเนิดน่าจะได้เค้าโครงเรื่องในส่วนพุทธประวัติมาจากคัมภีร์อัฏฐสาลินีและคัมภีร์ปฐมสมโพธิ เนื้อหากล่าวถึงพุทธประวัติและหลักคำสอนที่เกี่ยวข้องกับพระอภิธรรม แต่ในวรรณกรรมเรื่องสตราอภิธรรมกำเนิดมีการแต่งนิทานประกอบคำสอนเพิ่มขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายของเรื่องเพื่อให้ผู้ฟังและผู้อ่านได้เห็นความสำคัญการสร้างกุศลกรรมดีเพื่อให้ได้รับผลกรรมดีนั้น
ลักษณะคำประพันธ์ในส่วนที่เป็นภาษาบาลีใช้รูปแบบร้อยกรอง ในส่วนภาษาเขมรแต่งเป็นร้อยแก้ว การใช้ถ้อยคำสำนวนนั้นนิยมเล่นคำซ้อนและคำพ้องความหมายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งนิยมใช้โวหารเพื่อดำเนินเรื่อง รูปแบบการใช้ถ้อยคำสำนวนโดยเล่นคำจำนวนมากและการใช้โวหารเป็นรูปแบบอย่างหนึ่งที่นักประพันธ์เขมรนิยมใช้ ส่วนภาพสะท้อนจากวรรณกรรมนั้นสะท้อนให้เห็นในเรื่อง ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี หลักคำสอน ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมส่วนใหญ่ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาทั้งสิ้น This master’s report is an analytical study of Satra Abhidharma Kamniet Palm Leaves from the original text of 32 pages palm leaves (Bailan) obtained from Krasang District Buriram Province. The text was written in 1944 by Bhisukiya.
The master’s report is divided into 5 chapters. In the introduction, it deals with significance of Abhidharma Kamniet Palm Leaves, Buddhist literary, plot to cover life of Buddha and Buddhist doctrine. The second deals with the form of Khom script and the usage of Khom script were written in Khmer language. The third covers the origin of the story, the purpose and style of the presentation. The fourth is an analysis of the reflection of the literary. And the last chapter is the conclusion and suggestions.
The conclusions are as follows : The form of Khom script in the work is same the form Khmer script in the present but the usage of Khom script system in the work is same the usage of Khom Post Angkorian writing system. The plot was probably derived from Pathamasambodhi and Atthasalini. The purposes of the work be teach in order to see the significance of making good deed (Kusala Kamma) so that we can benefit good things (Phala Kamma).
The script in the work was written in Pali and Khmer languages. The Pali language in the work was written in verse, Sagaha prayer, which derived from Abhidhamatthasangaha. The Khmer language was written in prose. The poetic diction in the work has many of descriptions, synonymous compounds and synonymous meant. This literary style is usage that most of Khmer modern composer like to use. The reflection of the literary depicts social values, belief, custom and doctrine and the most of them are related with Buddhist. From this reason, we see which in that time religious have influence on literary.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
121