การออกแบบสถาปัตยกรรมแบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (ศึกษาเฉพาะกรณีเขตพุทธาวาสของพระอารามหลวงที่สร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

Other Title:
The architectural design of King Rama III's style : the case study of the Buddhist ecclesiatical section of the royal temples in early Ratanakosin period
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบและวิธีการแก้ปัญหาการออกแบบ รวมถึงประเมินถึงประสิทธิภาพการออกแบบตามกระบวนการทางวัฒนธรรมไทย โดยศึกษารูปแบบงานสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมฯในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นผลงานการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปะไทย ฝรั่งและโดยเฉพาะศิลปะจีน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้สร้างสรรค์ขึ้น จนเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมหลวงในรัชกาลนี้
พระอารามหลวงที่ใช้เป็นกรณีศึกษา มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ วัดราชโอรสาราม (เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์สร้าง) วัดไพชยนต์พลเสพ (เป็นวัดที่พระมหาอุปราชสร้าง) วัดเทพธิดาราม (เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์สร้างพระราชทาน) วัดมหรรณพาราม (เป็นวัดที่พระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้าง) วัดโปรดเกศเชษฐาราม (เป็นวัดที่ขุนนางสร้าง)
การวิเคราะห์ได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบส่วนประกอบที่สำคัญของพระอารามหลวงทั้ง 5 แห่ง แบ่งออกเป็น ผังบริเวณ แผนผังอาคาร ฐานอาคาร หน้าบัน การใช้สัญลักษณ์ตกแต่งอาคารฯลฯ
ผลการศึกษาพบว่า
1. การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมฯมีความสัมพันธ์กับฐานานุศักดิ์ของผู้สร้าง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ จะมีขนาด องค์ประกอบสถาปัตยกรรมและรายละเอียดในการตกแต่งจำนวนมาก และจะใช้องค์ประกอบบางประการ เช่น การใช้ฐานยกพื้นสองชั้น สัญลักษณ์มังกรห้าเล็บ ฯลฯ เป็นเครื่องบ่งบอกฐานะของผู้สร้าง
2. การออกแบบสถาปัตยกรรมโดยการใช้ศิลปะจีนและฝรั่งผสมผสานนี้ เป็นการบูรณาการทางวัฒนธรรม เพื่อรวมน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชนในประเทศขณะนั้น
3. การใช้ศิลปะจีนและฝรั่งในการออกแบบนั้นเกิดจากการใช้วัสดุและรูปลักษณ์แบบจีนนำมาตกแต่งอาคารและบริเวณโดยรอบเท่านั้น แต่วิธีการออกแบบเป็นวิธีการแบบประเพณีไทย ดังนั้นงานสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมฯจึงยังคงสามารถตอบสนองต่อวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี The objective of this research is to investigate design methods and solution including efficiency evaluation on the Thai traditional design process. This research focus on the architectural design in the period of King Rama III which shown the integration between Thai and foreign arts especially Chinese. This style become a pattern of Royal of that period of time.
The 5 royal temples chosen as case studies in this research are Wat Rajaorosaram (built by the king) Wat Paichayonponsep (build by the viceroy) Wat Teptidaram (build by the king patronage) Wat Mahannaparam (build by the royal family) Wat Prodketchetaram.
The analysis method used in this research is comparison of important component among the 5 royal temples which are lay-out, building plans, building foundation, gable, symbolic building ornaments.
The research found out that :
1. The architectural design of King Rama III style is related to the builder’s status especially. The one that build by the king will be larger in size with extra decorative ornaments, for example : double height base, symbol of a dragon with 5 fingernails are used to indicate status of the builder.
2. The architectural design by using the mixture of both Chinese and foreign arts is a cultural integration which aim to unite among of diversity population of that time.
3. The use of Chinese and foreign arts in Thai Architecture is only in level of ornamental and decoration composition to building. All others design strategy still remain in Thai traditional way which response properly to Thai way of life.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A.(History of Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
213