การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย กรณีศึกษาวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย

Other Title:
The study of Sukhothai architecture : a case study of Wat Mahathat, Sukhothai province
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย โดยอาศัยวัดมหาธาตุ จ. สุโขทัย เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากวัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดภายในเมืองสุโขทัย เป็นสถานที่ที่รวบรวมสถาปัตยกรรมสุโขทัยไว้มากมาย โดยตำแหน่งของวัดตั้งอยู่เกือบกลางเมืองสุโขทัย ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ คือ กลุ่มเจดีย์ประธานมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์รายล้อมไปด้วยกลุ่มเจดีย์บริวารที่ประกอบไปด้วยเจดีย์ทรงปรางค์ประจำทิศ และเจดีย์ประจำมุมทรงปราสาทยอดที่ก่อสร้างด้วยอิฐ โดยสิ่งก่อสร้างทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน รวมทั้งวิหารหลวงที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของกลุ่มเจดีย์ประธาน สิ่งก่อสร้างดังกล่าวสันนิษฐานว่าไม่น่าจะมีการสร้างขึ้นในเวลาเดียวกัน น่าจะมีบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยต่างๆเรื่อยมา จึงทำให้เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากที่ต่างๆที่ได้รับเข้ามาในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นถึงพัฒนาการของสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทำให้ทราบถึงพัฒนาการของผังวัดมหาธาตุสุโขทัย ในแต่ละช่วงเวลา โดยจะทำการศึกษาจากปัจจัยต่างๆ ที่ได้ทำการศึกษามาแล้วข้างต้น สถาปัตยกรรมที่ปรากฎภายในวัดมหาธาตุ สุโขทัย นอกจากกลุ่มเจดีย์ประธาน และวิหารหลวง ยังมีสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญรองลงมาอีกมากมาย เช่น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หมายเลข 16 ที่สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหาธรรมราชาลิไท, เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หมายเลข 18 ที่สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหาธรรมราชาที่ 2 และยังมีสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญอีกมาก เช่น เจดีย์ทรงระฆังกลม, มณฑปรูปแบบต่างๆ เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบบเจดีย์กู่กุดวิหารรายที่ตั้งอยู่เรียงรายโดยทั่วไปในบริเวณวัด
การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ จะใช้การเก็บข้อมูลจากภาคสนาม รวมถึงศึกษาข้อมูลจากประวัติศาสตร์ศิลาจารึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมภายในวัดมหาธาตุที่เกิดขึ้นในอดีต รวมถึงเพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของการสร้างวัดมหาธาตุได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น The purpose of this research were to study the styles of the architecture in Sukhothai period by employing Wat Mahathat, Sukhothai as a case study.
Wat Mahathat is the important temple, situaed in the mid of Sukhothai period such as the Stupa in Pum Kao Bin shape, standing in the middle as the principle stupa of the temple. Furthermore, on the same base, there are 4 laterite Prangs, standing in the middle of each side, and 4 other brick stupa, Prasat Yod at the four corners and in front of the principle stupa. As for the Vihara, it is situaed to the east of the group of pnciple chedis.
It is assumed that all constructions were not built at the same time. Probably. they were renovated in different periods. This resulted in architecture in diversified styles, manifesting influences from many palaces in different periods and the continous development in Sukhothai architecture.
Beside, this research are evidences of gradually development of temple planning in Wat Mahathat in each period. This research will study various factors analysed above. As for the architecture fund in Wat Mahathat, apart from the group of pniciple chedis and the congregation hall (Vihara), there are other importants construction such as the stupa in Pum Kao Bin no. 16 which is belved to house King Lithais ashes, the stupa in Pun Kao Bin no. 18 which is assumed to house King Thammaraja lI 's ashes and other like Bell-shape stupa, other form Mondop, step pyramid stupa and Vihaa.
In the analysis of data in this research, information from survey, historical documents and related epigraplies will be used for comporative analysis, assuming the possible form of architecture เn this temple and well understanding to development of constructions in Wat Mahathat, Sukhothai.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A.(History of Architecture))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
876