การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิด

Other Title:
A studies of Thai architecture with
Author:
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จากการศึกษาสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิด ทั้ง 19 หลัง ทำให้ทราบว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิด เป็นการออกแบบสำหรับอาคารที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และอาคารที่เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ จากการศึกษาสามารถจำแนกอาคารออกเป็น 2 กลุ่ม ตามอายุ/สมัย ได้ดังนี้คือ สถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิดในสมัยอยุธยาตอนปลาย และสถาปัตยกรรมแบบมีมุขประเจิดในสมัยรัตนโกสินทร์
จากการศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมพบว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิดในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะเฉพาะร่วมกัน 5 ประการคือ
1. มีลักษณะของแผนผังอาคารในส่วนของมุขประเจิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. 2. หลังคาของสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิดมีลักษณะเป็นหลังคาแบบตับเดียว และมีลักษณะหลังคาเป็นแบบชั้นซ้อนหรือชั้นลด ยื่นออกมาจากหลังคาประธาน
3. เป็นอาคารที่หลังคากันสาด คลุมอยู่โดยรอบอาคาร
4. เป็นอาคารที่มีเสาทะลุหลังคากันสาดทางด้านสกัดของอาคารตั้งขึ้นไปรับหน้าบัน
5. เป็นมุขที่เกิดขึ้นมาจากเสาร่วมในคู่สุดท้าย
และจากลักษณะเฉพาะดังกล่าวข้างต้นต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการพัฒนาคลี่คลายรูปแบบอาคารแบบมีมุขประเจิดตามลักษณะชั้นเชิงในการออกแบบของช่างอีก 3 ลักษณะ คือ
1. มีการเพิ่มหลังคากันสาดเล็ก ๆ ด้านข้างทั้ง 2 ด้านของหลังคามุขประเจิด ได้แก่ หอไตรวัดใหญ่
เมืองโบราณ
2. มีการยื่นขื่อของมุขประเจิดให้เลยหัวเสาออกไป ได้แก่ พระที่นั่งทรงธรรมวัดเบญจมบพิตร
3. การทำหลังคาอาคารแบบมีมุขประเจิดโดยไม่มีหลังคาชั้นซ้อน ได้แก่ พระที่นั่งราชกรัณยสภา
การออกแบบอาคารแบบมีมุขประเจิด นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยช่างได้พยายามปรับปรุงรูปแบบของการทำหลังคาชั้นซ้อของอาคารให้มีลักษณะรูปแบบพิเศษขึ้น โดยใช้ข้อจำกัดของระบบโครงสร้างแบบเดิม ซึ่งทำให้เกิดผลทางด้านสุนทรียภาพเป็นที่น่าพอใจ แต่ทั้งนี้ความนิยมการก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิดก็เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากปัญหาจุดอ่อนของโครงสร้างอาคารซึ่งมักจะหักโค่นลงในบริเวณจุดต่อของโครงสร้างเสาที่ทะลุหลังคากันสาดขึ้นรับหน้าบัน The studied of 19 Thai buildings with Mukprajerd gable front reveal that the aforesaid architectural style was the design for buildings relevant to Buddhism, such as ubosots, pra wihans, the halls for sermons in monasteries. Besides, it was the design for buildings relevant to the kings. The buildings, from such studies, can be categorized into 2 groups, according, to their ages/periods as follows:
1. The Thai architecture with Mukprajerd in the Late Ayudhya Period.
2. The Thai architecture with Mukprajerd in the Rarranakosin Period.
The studies of the architectural characteristics show that the design of the Thai architecture with Mukprajerd in the above-mentioned periods share 5 aspects in commom, namely,
1. The plan of Mukorajerd gable front is a rectangle.
2. The Thai architecture with Mukorajerd gable front has a main roof with a smaller roof sticking
out from the main one.
3. There is an overhanging roof around the building.
4. There is a pole penetrating the overhanging roof, in the narrow part of the building, to support
the Gable front.
5. The gable front was built on the last pair of the in – house poles.
The above specific characteristics were developed in the Pattanakosin Period with 3 additional aspects as follow:
1. Two small overhanging roofs were added to both sides of Mukprajerd gable front’s roof, for example, Wat Yai in the ancient city.
2. The beam of Mukprajerd gable front was beyond The poles, for example the Songdhama Palace in the Marble Temple.
3. The main roof with Mukprajerd gable front had no additional roofs, for example the Karanyaspa
Place.
The design of the buildings with Mukprajerd gable front was very popular in the late Ayudhys Period. The Thai architects, in such period, tired to improve the design by making a more special additional roof of the buildings, making use of the limitation of the original structure. Although the result was impressive and satisfactory, the architecture with Mukprajard gable front was subsequently less popular because there was usually a break at the joints where the poles penetraled the roof so as to support the gable front.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
289