ทุนทางสังคมในชุมชนเสมือนจริง : กรณีศึกษา http://gotoknow.org

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทุนทางสังคมในชุมชนเสมือนจริง จากเว็บไซต์ http://gotoknow.org โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม -23 กันยายน พ.ศ. 2549 ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
ลักษณะทุนทางสังคมในชุมชนเสมือนจริง มีอยู่ 5 ลักษณะ คือ
1) การมีส่วนร่วมในเครือข่าย คือการเข้ามาแสดงตัวตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพราะผู้เข้าใช้บริการมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
2) การต่างตอบแทน คือการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นลักษณะเด่นที่พบได้จากการต่างตอบแทนคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้กำลังใจ
3) ความไว้วางใจกัน ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความไว้วางใจกันยังพบไม่มาก เพราะปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการเข้าใช้บริการทำให้ความไว้วางใจในบุคคลที่เข้าใช้บริการลดน้อยลง
4) บรรทัดฐานทางสังคม ผู้เข้าใช้บริการจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ระเบียบของกลุ่มซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามแล้วกลุ่มหรือเครือข่ายก็มีสิทธิพิจารณาให้ออกจากลุ่มได้
5) สิ่งที่เป็นสาธารณะเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อผู้เข้าใช้บริการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายแล้วจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเสนอแนะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเว็บไซต์ในอนาคต
ซึ่งลักษณะทุนทางสังคมในชุมชนเสมือนจริงที่พบมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในเครือข่าย และทุนทางสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ในชุมชนเสมือนจริง ซึ่งลักษณะที่ปรากฏนั้นจะมากน้อยต่างกัน แต่สามารถพัฒนาได้โดยอาศัยเงื่อนไขของเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าในวันหยุดและวันธรรมดานั้นมีจำนวนผู้เข้าใช้บริการไม่ต่างกันมากนักจึงสามารถให้ความสำคัญกับทุกวันในรอบสัปดาห์ โดยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุด คือ ช่วงเวลาระหว่าง 21.01 – 00.00 น. , 09.01 – 12.00 น. และ15.01 – 18.00 น. ตามลำดับ
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการชุมชน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
35