องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม : ตัวแทนแห่งความเชื่อและความศรัทธาของชาวปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2020
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่ององค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม : ตัวแทนแห่งความเชื่อและความศรัทธาของชาว
ปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต และความเชื่อของชาวไทย
เชื้อสายจีน ในปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาและวิวัฒนาการของการคัดเลือก
องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ตลอดจนรายละเอียดของขั้นตอนและรูปแบบการคัดเลือกองค์สมมติเจ้าแม่
กวนอิม ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาการเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม โดยอ้างอิงจาก
แนวคิดชุดสัญลักษณ์ โดยมุ่งเน้นที่ตัวแบบของ (mode! of และตัวแบบสำหรับ (model for) ซึ่งเป็น
แนวคิดของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ และศึกษาสังคมและเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันผ่านบทบาทขององค์สมมติ
เจ้าแม่กวนอิม ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการศึกษาผ่านการลงพื้นที่ ภาคสนาม และ
สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวซ้องทั้งหมด 13 คน แบ่งเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 องค์สมมติ
เจ้าแม่กวนอิม ประจำปี 2563-2564 กลุ่มที่ 2 อดีตองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม กลุ่มที่ 3 ผู้เข้าคัดเลือก
องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ประจำปี 2563-2564 และกลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัด
นครสวรรค์ ที่เคยเข้าร่วมงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
ผลจากการศึกษาพบว่า องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมนั้นมีบทบาทที่โดดเด่นในด้านความเชื่อ
มากกว่าทางโลก คล้ายกับบทบาทกุมารี (Kumar) ของประเทศเนปาล โดยรูปแบบและบทบาททุก
อย่างขององค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมถูกจำลองมาจกเจ้าแม่กวนอิมโดยตรง ทั้งลักษณะทางกายภาพ
และรูปแบบวิถีปฏิบัติบางส่วนที่ถูกนำประกอบเข้ากับตำนานเจ้าแม่กวนอิม ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดตัว
แบบสำหรับ (mode! for) และตัวแบบของ (mode! o! ของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ มาอธิบายรูปแบบ
ความเชื่อเจ้าแม่กวนอิมและรูปแบบขององค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม นอกจากนี้กระบวนการที่ได้มาซึ่ง
องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมยังถูกเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อของชาวจีน ในเรื่องของการเสี่ยงทายต่อเทพเจ้า ทำให้ชาวปากน้ำโพเชื่อว่า องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้ที่มาจากการคัดเลือกของเทพเจ้า
โดยตรง ทำให้องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมมีบทบาทที่พิเศษและแตกต่างไปจากบทบาทอื่น ๆ ในงาน
ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ นอกจากนี้บทบาทขององค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมทางด้านความ
เชื่อยังแสดงให้เห็นผ่านการปรากฏตัวในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพขององค์สมมติเจ้าแม่
กวนอิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแห่กลางวัน ที่องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมจะนั่งอยู่บนขบวนแห่ พร้อม
ทำท่าปางประทานพร เปรียบเสมือนกำลังแสดงการโปรดมนุษย์ของเจ้าแม่กวนอิม ทำให้เกิดภาพที่
ชาวปากน้ำโพหลายคน ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรายกมือพนมไหว้องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม เมื่อขบวน
องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมเคลื่อนผ่าน จึงอาจกล่าวได้ว่า องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม เป็นตัวแทนแห่งความเชื่อและความศรัทธาของชาวปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างแท้จริง
Type:
Degree Name:
ศิลปศาตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
30