การพัฒนาแนวทางการตรวจคลินิกเวชกรรมและคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม

Other Title:
Development of inspection guidelines for medical clinic and specialist medical clinic
Author:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจคลินิกเวชกรรมและคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม (แนวทางการตรวจฯ) โดยพัฒนาขึ้นจากแนวทางการตรวจของสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาโดยจัดทำร่างแนวทางการตรวจฯ ประชุมระดมสมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนะปรับแก้ไขแนวทางการตรวจฯ แล้วส่งร่างแนวทางการตรวจฯไปสอบถามความคิดเห็นจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสถานพยาบาลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 76 ชุดและสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะจำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการตรวจฯ ที่พัฒนาขึ้นมีการเพิ่มเติมข้อพิจารณาในการตรวจสำหรับการตรวจเพื่อพิจารณาอนุญาตและการตรวจเฝ้าระวังจำนวน 80 ข้อ และ 97 ข้อ ตามลำดับ ได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาจำนวน 50 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 64.9 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 ถึง 40 ปี ประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีตำแหน่งเภสัชกร (ร้อยละ 67.3, 61.2, 69.4 และ 77.6 ตามลำดับ) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อข้อพิจารณาในการตรวจทั้งแนวทางการตรวจฯเพื่อพิจารณาอนุญาตและการตรวจเฝ้าระวังมากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ยกเว้นความคิดเห็นต่อหัวข้อรายการยาช่วยชีวิตฉุกเฉินและแบบฟอร์มการส่งต่อผู้ป่วยทีมีจำนวนผู้เห็นด้วยอยู่ระหว่างร้อยละ 49.0 – 70.0 ซึ่งผู้ที่ไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี
แนวทางการตรวจฯที่พัฒนาขึ้น ซึ่งครอบคลุมทุกประเด็นการตรวจตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้สำหรับการตรวจเพื่อพิจารณาอนุญาตและการตรวจเฝ้าระวังของคลินิกเวชกรรมและคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมได้ โดยควรมีการปรับการกำหนดรายการยาช่วยชีวิตฉุกเฉินเฉพาะรายการขั้นต่ำเท่านั้น
The purpose of this study was to develop guidelines for the examination of medical clinic and specialist medical clinic by developing the examination guidelines of the Bureau of Sanatorium and Art of Healing (BSAH), the Ministry of Public Health and relevant acts. The study was conducted by preparing draft examination guidelines, brainstorming them with the for suggestions and djustments of the examination guidelines and forwarding the draft for comment to the 76 provincial Public Health Officer throughout the country and also
sending a copy to BSAH. The data was analyzed by content analysis, percentage and mean.
Result showed that developed examination guideline was added 80 and 97 topics for approval and development/inspection guidelines for medical clinic and specialist medical clinic respectively. The questionnaires were completed by respondents from 50 provinces (64.9%). Most respondents were female, aged between 31-40 years, having less than 5 years’ work experience, with a bachelor’s degree and working as pharmacists (67.3, 61.2, 69.4 and 77.6 percent espectively). Most respondents (>80%) agreed with the considerations of the examination as well as the examination guidelines in terms of granting approval and monitoring, with the exception of the topics relating to emergency rescue medicine and patient referral forms, which were agreed by 49.0 and 70.0 percent of the respondents respectively. Most respondents who disagreed had less than five years’ work experience.
The developed examination guidelines cover all topics of examination according to the relevant acts and could be applied for the granting of approval and monitoring of both specialist medical clinics and typical medical clinics. The only adjustment which needs to be made is a minor change to the emergency rescue medicine.
Type:
Degree Name:
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
13