การพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสมรรถนะทางจิตวิทยา

Other Title:
A development of teachers’ professional learning communities paradigm to enhance psychological competencies
Author:
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทาง จิตวิทยา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา 4) เพื่อปรับปรุงและเสนอแนะการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) นักศึกษาชั้นปี ที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2559 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน 2) ครูพี่เลี้ยง จำนวน 8 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน 4) อาจารย์นิเทศก์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แบบระเมินตนเองของนักศึกษาครู ด้านความรู้ ความเข้าใจ 2) แบบประเมิน ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน 3) แบบประเมินสมรรถนะทางจิตวิทยา 4) แบบประเมินความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง และ นักศึกษาครูที่มีต่อการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา ผู้วิจัยได้พัฒนา รูปแบบการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูที่มีชื่อว่า PLEASE MODEL ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 Planning : P ขั้นที่ 2 Leading Instruction : L ขั้นที่ 3 Empowerment : E ขั้นที่ 4 ssessment : A ขั้นที่ 5 Standard : S และ ขั้นที่ 6 Evaluation : E
2. ผลการประเมินประสิทธิภาพการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา “PLEASE MODEL” โดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 ท่าน อยู่ในระดับที่ดี
3. ผลการประเมินประสิทธิผลการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตวิทยา ผลการประเมินความสามารถในการสอนโดยเน้นสมรรถนะทางจิตวิทยาผ่านการประเมินทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และเพื่อนนักศึกษาครู พบว่า ผลการประเมินส่วนใหญ่มีความสามารถในการสอนโดยเน้นสมรรถนะทางจิตวิทยา อยู่ในระดับดีมาก
The purposes of this research were: 1) to develop teachers’ professional learning communities paradigm to enhance psychological competencies 2) to evaluate the efficiency of the developed teachers’ professional learning communities paradigm 3) to evaluate the effectiveness of the developed teachers’ professional learning communities paradigm. 4) to improve and suggest in relation to the development of teachers’ professional learning communities paradigm. This research was conducted by using mixed of quantitative and qualitative research methodologies. The sampling groups were 1) eight teacher professional training students at Suratthani Rajabhat University the first semester of the academic year 2016. 2) eight master teachers 3) four school directors, and 4) a university supervisor working at Suratthani Rajabhat University, The students were recruited by the method of purposive sampling.
The research instruments were 1) a student test self-evaluation 2) an evaluation checklist competence on the teaching and learning 3) an evaluation checklist of psychological competencies 4) an opinion evaluation checklist and interview of cooperating teachers and teacher students that had a perspective on the development of teachers’ professional learning communities paradigm. The statistics used in data analysis were Percentage (%), Mean ( ), Standard Deviation, t-test dependent samples) and the content analysis.
The results were as follows:
1. The result of development of teachers’ professional learning communities paradigm was a model of the professional learning communities paradigm, which was called PLEASE Model. This model was composed of 6 stages : 1) Planning : P 2) Leading Instruction : L 3) Empowerment : E 4) Assessment : A 5) Standard : S and 6) Evaluation : E.
2) The result showed that the efficiency evaluation of the developed teachers’ professional learning communities paradigm (PLEASE Model), was at a good level. the efficiency evaluation of such model was assesses by five experts.
3) The result showed that the effectiveness of a developed teachers’ professional learning communities paradigm were generally at pass levels. The teachings competencies focusing on psychology, which were assessed by school directors, cooperating teachers, university supervisor and the peer coaching professional training students. were mostly at excellent level.
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
32