การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Other Title:
Development of learning management model on wisdom and local culture based on anthropological approach for secondary school students
Author:
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (4) ขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า
ตอนที่ 1 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯ พบว่า มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขการนารูปแบบไปใช้ ซึ่งขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย (1) เรียนรู้วิธีการทางมานุษยวิทยา (2) เยี่ยมเยียนชุมชนค้นหาความสนใจ (3) ใฝ่ฝึกฝนหาความรู้ (4) ใช้ชีวิตภาคสนามในชุมชน (5) จัดหมวดหมู่ความรู้ (6) คืนความรู้สู่ชุมชน
ตอนที่ 2 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯ พบว่า (1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ในเนื้อหาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯ สูงกว่าก่อนเรียน (2) ผลการเรียนรู้ในเนื้อหาวิธีการเรียนรู้ภาคสนามทางมานุษยวิทยาหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯสูงกว่าก่อนเรียน (4) ผลการปฏิบัติทักษะการเรียนรู้ภาคสนามทางมานุษยวิทยา ทักษะการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมมีสูงที่สุด (5) ผลของทักษะทางสังคมหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯ ทักษะการทางานกลุ่มมีสูงที่สุด 4) ผลของเจตคติต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯ นักเรียนมีเจตคติที่ดีเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ตอนที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาฯ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยขั้นตอนใช้ชีวิตภาคสนามในชุมชน นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด เนื่องจากชาวบ้านมีความเป็นกันเอง ให้ความร่วมมือในการเรียนรู้ ให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆและได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ตอนที่ 4 ผลการขยายผลรูปแบบ พบว่า ด้านผลการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลของความรู้ด้านทักษะการวิจัยภาคสนามทางมานุษยวิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการปฏิบัติทักษะการเรียนรู้ทางมานุษยวิทยา ทักษะการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมมีสูงที่สุด ผลของทักษะทางสังคม ทักษะการใช้ชีวิตการเป็นพลเมืองดีมีมากที่สุด ผลของเจตคติต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมีเจตคติที่ดี เห็นคุณค่า ร่วมพัฒนาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด
The main purposes of this research were; 1) to develop the instructional model of local wisdom and local culture management by using the anthropological approach for secondary school students 2) to examine the instructional model with the sampling groups 3) to study students’ satisfaction level towards the instructional
model and 4) to explore the instructional model with secondary school students.
The research results revealed as followings;
Part 1: The development on the instructional model of local wisdom and local culture management by using the anthropological approach for secondary school students revealed that there were 4 elements; the principle, the objectives, the instructional management, and the application condition. Stages used in the
instructional management included; 1) to study an anthropology 2) to visit a community for students’ interest, 3) to practice the students’ searching, 4) to learn the community immersion in students’ field trip; 5) to organize the knowledge; and 6) to return the knowledge the community.
Part 2: The evaluation results revealed that; 1) Students’ test scores on the content of local wisdom and local culture after using the instructional model of local wisdom and local culture management by using the anthropological approach for secondary school students were higher than before higher than before they
studying. 2) Students’ scores after learning by using the anthropology field trip were higher than before they studying. 3) Students’ performance scores by the anthropology field trip were at high level and the participant observation was at highest. 4) The social skill result was at high level and the group working was the highest. 5) Students’ attitude after using the instructional model of local wisdom and local culture management by using the anthropology technique for secondary school students indicated the good level.
Part 3: Students’ satisfaction level towards the instructional model showed the level of highest. Student’s satisfaction level towards the community immersion students’ field trip showed the level of highest. The reasons are good relationship in the community, the local people’s kindness, and learning from real situation
and experience.
Part 4: The instructional model exploration with secondary school students showed the following results; the students’ scores of using local wisdom and local culture were higher than before their studying, students’ scores for skills in their anthropology field trip were higher than before their studying, the social skill performance was at high level and the participant observation skill was at highest, the social skill was at the highest level and the civil living skill was at highest, the attitude toward local wisdom and local culture was at good level; students agreed to participate in local wisdom and local culture conservation, and students’ satisfaction towards the instructional model was at highest level.
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
112