การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช

Other Title:
Curriculum development for student teachers learning management to enhance students’ critical reading and thinking skills using task-based learning and coaching approach
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรและคู่มือฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช 4) เพื่อศึกษาความสามารถด้านทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการอบรม คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 28 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการโค้ชคือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 6 คนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กาลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรและคู่มือฝึกอบรม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถด้านทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความสามารถการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย (xˉ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจากการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีความจาเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบไปด้วย 1) สภาพปัญหาและความจำเป็นของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) สาระการเรียนรู้ประจำหน่วย 5) กระบวนการฝึกอบรม 6) กิจกรรมการเรียนรู้ 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผลหลักสูตร โดยมีกระบวนการอบรมชื่อว่า SBADF ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ (Stimulation) ขั้นที่ 2 ระดมพลังสมอง (Brainstorming) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติงาน (Action) ขั้นที่ 4 สรุปและอภิปราย (Discussion) และขั้นที่ 5 สะท้อนผล (Refection)
2. หลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความสอดคล้องในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.60) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.43) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด และหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความเหมาะสมในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.65) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.47) มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทักษะการอ่าน สะพานสู่ความสำเร็จ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะการคิด.พิชิตเป้าหมาย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 task-based learning: แนวคิดมุ่งเน้นปฏิบัติงาน และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี.นำทฤษฏีสู่การปฏิบัติ
3. การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภาพรวมทุกโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.48) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.72) แสดงว่ามีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ระดับมากและความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาพรวมทุกโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.58) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.26) แสดงว่า มีความสามารถการจัดการเรียนรู้ระดับมากที่สุด
4. การประเมินหลักสูตรพบว่า เป็นหลักสูตรที่ช่วยพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้มีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น ตอบสนองความต้องการผู้อบรม มีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้อบรมแสดงความคิดเห็น
5. ความสามารถด้านทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to 1) study general information and need for developing a curriculum and manual of training and developing ability of learning management of student teachers and reinforce critical reading skill and critical thinking of students using the task-based learning and coaching approach, 2) design and develop a curriculum as well as a manual of training employing of learning management of student teachers and reinforce critical reading skill and critical thinking of students the task-based learning and coaching approach, 3) implement the curriculum and manual of training learning management of student teachers and reinforce critical reading and thinking skills of students using the task-based
learning and coaching approach, 4) study critical reading and thinking skills before and after the implementation of the taskbased learning and coaching approach, and 5) evaluate and improve the curriculum and manual of training of learning
management of student teachers and reinforce critical reading and thinking skills of students using the task-based learning and coaching approach. The sample attending in the training program was twenty-eight student teachers of Thai teaching
program, Faculty of Education, Silpakorn University. The sample who was coached was 5th year student teachers of Thai
teaching program, Faculty of Education, Silpakorn University. Two hundred and thirty-three in the Mattayomsuksa two students studying in the 2nd semester, academic year 2016 took part in the study. the purposive sampling process was used. The research instruments were a curriculum and manual of training, lesson plans based on TBL concept, a measurement from a test of understanding about learning management, a test of critical reading and thinking skills and an evaluation form of ability to write lesson plans and an evaluation from of learning management. The quantitative data were analyzed by mean (xˉ), standard deviation (S.D) and t-test dependent. The qualitative data were analyzed by content analysis.
The research result were as follows:
1. The analyses of general information and requirements from document analyses, interview and focus group discussions revealed that the training curriculum was really necessary to develop student teachers. 1) The analyses
consisted of: Problem condition and necessity of the curriculum, 2) the principles of the curriculum, 3) objectives, 4) content, 5) process of training, 6) activities, 7) media and equipment, and 8) measurement and evaluation. The training process called SBADF was comprised of 5 phases: namely Phase 1: Stimulation, Phase 2: rainstorming, Phase 3: Action, Phase 4: Discussion and Phase 5: Refection.
2. The overall draft training curriculum was congruent at the highest level with the mean at 4.60 and the standard deviation (S.D.) at 0.43. The draft training curriculum in general was suitable at the highest level with the mean at 4.65 and the standard deviation (S.D.) at 0.47. It consisted of 4 modules which were : Module 1: Reading skill… “the Bridge to Success”, Module 2: Thinking skill….“Reach the Goal”, Module 3: Task-based learning…. “Concepts Focusing on Tasks” and Module 4: good learning management plans…. “Theories Leading to Practice”.
3. The experiment of the training curriculum showed that the student teachers’ learning management after the training was significantly higher than before at the .05 level. The overall ability to write learning management plans in every school was at the high level with the mean (xˉ) at 4.48 and standard deviation (S.D.) at 0.72. The ability to manage learning in every school was at the highest level with the mean (xˉ) at 4.58 and the standard deviation (S.D.) at 0.26.
4. The evaluation of the curriculum showed that the curriculum helped develop student teachers to have higher ability of learning management and served the trainees’ needs concerning both theories and practice. It provided opportunities for the trainees to exchange knowledge and share ideas.
5. The students’ critical reading and thinking skills after using task-based learning and coaching approach were significantly higher than before at the .05
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
41