การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Other Title:
The development of task-based and internet hypertext reading strategies instructional model to enhance reading comprehension and characteristics of self-directed learning of university students
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2 .เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปี ที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงาน คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกการอ่าน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบวัดความสามารถในการใช้กลวิธีวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์ บันทึกการอ่าน แบบวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง แบบสอบถามความพึงใจของนักศึกษาต่อการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีชื่อว่า “PMALS” มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ เน้นการจัดการเรียนการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงาน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการนำตนเอง 3) กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning: P) ขั้นที่ 2 นำเสนอ (Modeling: M) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติภาระงาน (Action: A) ขั้นที่ 4 ฝึกใช้ภาษา (Language Practice: L) และขั้นที่ 5 สะท้อนการเรียนรู้ (Self-reflection: S) 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ การเตรียมความพร้อมในการเรียนและสื่ออุปกรณ์ รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.32/80.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน (PMALS Model) นักศึกษามีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน (PMALS Model) นักศึกษามีความสามารถในการใช้กลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์ อยู่ในระดับมาก
4. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน (PMALS Model) นักศึกษามีคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน (PMALS Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
The purposes of this study were to: 1) develop a task-based and internet hypertext reading strategies instructional model to enhance reading comprehension and self-directed learning of university students and 2) study an effectiveness of a task-based and internet hypertext reading strategies instructional model to enhance reading comprehension and self-directed learning of university students. The samples comprised 28 students who were the first year students majoring in English, Faculty of Education, Buriram Rajabhat University. The instruments consisted of the task-based and internet hypertext reading strategies instructional model, a handbook of the model, lesson plans, reading exercises, a reading comprehension test, internet hypertext reading strategies used scales, self-directed learning scales, a reading log, and questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis.
The results of the study revealed as follows:
1. The task-based and internet hypertext reading strategies instructional model to enhance reading comprehension and characteristics of self-directed learning of university students called “PMALS Model” consisted of four components. There were 1) principle emphasized teaching and learning internet hypertext reading based on task-based instruction, 2) objective to develop reading comprehension and characteristics of self-directed learning, 3) learning process which consisted of five steps; step 1: Planning (P), step 2: Modeling (M), step 3: Action (A), step 4: Language Practice (L), and step 5: Self-reflection (S) and 4) condition of application which consisted of students’ background knowledge and materials resources. The efficiency of the PMALS model met the criterion of 82.32/80.13 that was higher than the required criterion of 80/80.
2. The students’ reading comprehension abilities were significantly higher than before the instruction at 0.05 level.
3. The abilities of internet hypertext reading strategies of the students were at the high level.
4. The characteristics of self-directed learning of the students were significantly higher than before the instruction at 0.05 level.
5. The satisfaction of the students toward the internet hypertext reading strategies instructional model was at the highest level.
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
135