ภาษิตเขมร : วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชาวเขมร

Other Title:
Khmer proverbs : ways of life and worldviews of Khmer people
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาภาษิตเขมรในด้านลักษณะทั่วไปของภาษิต ที่มาและเนื้อหาภาษิตตลอดจนศึกษาวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของคนเขมรที่สะท้อนจากภาษิต ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมได้ทั้งหมดจำนวน 800 ภาษิต
ผลการศึกษาพบว่า ภาษิตเขมรมีลักษณะโครงสร้างของภาษิตเป็นคำประสม วลี และประโยค ส่วนการใช้คำในภาษิตพบว่า ภาษิตเขมรนิยมใช้คำซ้ำกัน ใช้คำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน ใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน และใช้คำสัมผัสกัน การใช้คำลักษณะดังกล่าวทำให้ภาษิตมีสัมผัสคล้องจอง มีจังหวะ เกิดความไพเราะ จดจำได้ง่าย
การศึกษาที่มาเละเนื้อหาของภาษิตเขมรพบว่า ภาษิตเขมรมีที่มาและเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่แวดล้อมรอบตัวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนเขมร เป็นต้นว่า สัตว์ พืช ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งของเครื่องใช้ การประกอบอาชีพ อาหารการกินเป็นต้น นอกจากนั้น การศึกษาที่มาของภาษิตเขมรทำให้ทราบวิถีชีวิตของคนเขมรว่า คนเขมรมีความเป็นอยู่ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับธรรมชาติที่มีชีวิตที่เรียบง่าย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยอาศัยปัจจัยจากธรรมชาติในการผลิต
การศึกษาโลกทัศน์ของคนเขมรที่สะท้อนจากภาษิตพบว่า ภาษิตเขมรได้สะท้อนโลกทัศน์ในด้านต่างๆ เช่น โลกทัศน์ที่เกี่ยวกับคนในฐานะปัจเจกชน เช่น โลกทัศน์ต่อผู้ชายและผู้หญิง โลกทัศน์ที่มีต่อจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกและโลกทัศน์ต่อชาติตระกูลเป็นต้น
ส่วนโลกทัศน์ต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคมสะท้อนให้เห็นว่า คนในสังคมมีฐานะและสถานภาพแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำในชาติที่แล้ว ซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ การที่คนจะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข แต่ละคนต้องประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมกับฐานะและสถานภาพของตน
ภาษิตเขมรยังได้สะท้อนโลกทัศน์ที่มีต่อธรรมชาติว่า คนจะดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุขได้ ต้องรู้จักปรับตนและปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
ส่วนโลกทัศน์ต่อศาสนาและความเชื่อนอกศาสนาพบว่า คนเขมรมีโลกทัศน์ว่า ศาสนาและความเชื่อนอกศาสนา เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตคน The purpose of this thesis is to specific aspects of Khmer proverbs, including their general characteristics, sources and contents, and their reflection of the Khmer people’s ways of life and worldviews. This study is based on a total number of 800 proverbs.
The results of the study show that syntactic structure of Khmer proverbs may be composed of a compound word, a phrase, or a sentence. Word formation makes use of reduplication, synonyms, antonyms, and rhymes to make proverbs rhyme and easy to remember.
The study of the proverb’s contents and sources reveals that they focus on elements in the people’s immediate surroundings, such as animals, plants, utensils, work and food. The proverbs also reflect Khmer people’s daily ways of life which are closely related to nature since the majority of the population work as farmers.
An examination of the worldviews in the proverbs reveals views towards man as an individual, views of men versus women, views of the mind, of emotions, and views towards social status.
Worldviews regarding interpersonal relationships are governed by the Khmer people’s belief that people derive their position and social status as a consequence of a previous life’s deeds, and that this cannot be changed. To live happily with other, people, one must behave according to his position and status.
The proverbs also reflect worldviews towards nature that emphasize adjustment and conformity to nature in order to live happily.
Finally, worldviews toward religion and unorthodox beliefs in the proverbs reveal an acknowledgement of the influence these factors have on Khmer people’s lives.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด. (ภาษาเขมร))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
ภาษาเขมร
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
276