การศึกษาวิเคราะห์กวีนิพนธ์เขมรที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

Other Title:
Analytical study of Camobdian genocide poetry
Advisor:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า กวีนิพนธ์เขมรที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์เป็นเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์ และเป็นงานที่ทรงคุณค่าด้านวรรณศิลป์ โดยศึกษาผลงานกวีนิพนธ์เขมรที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันทั้งสิ้น 6 เรื่อง ได้แก่เรื่องของแผ่นดินเขมร สมัยพอล พด-เอียง ซารี ของจวน เมน เรื่องเสียงซาเดียว ของเม อายุทธ เรื่องกัมพูชากลองแขก ของคง บุญเชือนและกวีนิพนธ์อีก 3 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัล 7 มกรา ในปี ค.ศ. 1996 คือ เรื่องอีกาบินไปแล้ว ของเยียงสกุณี เรื่องแดนสวรรค์ในความฝัน ของแวนซน และเรื่องชีวิตไร้ความหมายในระบอบปีศาจ ของซิน โตจ
ผลการวิจัย สรุปได้ว่า กวีนิพนธ์เขมรที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ นำเสนอประวัติศาสตร์ชาติ ควบคู่ไปกับประวัติศาตร์ส่วนบุคคลของกวี นอกจากนี้ ยังเป็นงานที่ทรงคุณค่ายิ่งด้านวรรณศิลป์อีกด้วย ซึ่งถือเป็นลักษณะ พิเศษที่ทำให้งานดังกล่าวแตกต่างจากงานทางด้านประวัติศาตร์นิพนธ์อื่นๆ
กวีนิพนธ์เขมรที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์เป็นกวีนิพนธ์แบบเรื่องเล่า จึงมีองค์ประกอบไม่ต่างจากงานประเภทนวนิยายและเรื่องสั้น คือ มีแนวคิดสำคัญเพื่อประนามเขมรแดง ที่ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ขึ้นในประเทศกัมพูชา ระหว่างปี ค.ศ.1975-1979 แนวคิดนี้เป็นตัวควบคุมองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ โครงเรื่อง รวมถึงการตั้งชื่อเรื่อง ตัวละคร ฉาก และผู้เล่าเรื่อง ที่ช่วยทำให้เรื่องเล่าเกิดความสมจริง
กวีสร้างสรรค์ความงามทางวรรณศิลป์ โดยใช้กลวิธีการนำเสนอ ซึ่งจำแนกเป็น ฉันทลักษณ์ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การใช้เชิงอรรถอธิบาย การใช้ภาพประกอบเพื่อสื่อความหมาย การใช้กวีนิพนธ์วรรณรูป และการใช้รูปแบบจดหมายโต้ตอบ และกลวิธีที่ 2 กลวิธีทางภาษา ได้แก การสรรคำเพื่อทำให้เกิดความงามทางเสียงและความหมาย การใช้คำเพื่อทำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาพพจน์ต่างๆ และการใช้สัญญลักษณ์ เพื่อทำให้ผู้อ่านดื่มด่ำกับสุนทรียะแห่งความอำมหิต
กวีนิพนธ์เขมรที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์เป็นเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากกวีนิพนธ์แนวดังกล่าวได้นำเสนอภาพแทนสังคมสมัยสาธารณะรัฐกัมพูชา ภาพแทนสังคมสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย ภาพแทนของเขมรแดง และภาพแทนของประชาชนใหม่ เพื่อให้อนุชนได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น และช่วยกันป้องกันมิให้โศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำรอยได้อีก This thesis aims to prove that Cambodian genocide poetry serves as a historical diary which has a great amount of literature value. The study investigates six pieces of the poetry namely look at Cambodia in pol pot – leng sari’s period written by Chuan men, the voice of Sadiaw by Mao Ayuth. Cambodian drums by Kong Bunchuen and three pieces of 7 January Prize Poetry in 1996, which are the crow has already gone written by Yiang Sakunee, heaven in the dream by Ven son, and meaningless life under devil’s system written by sin touch.
According to the findings, the Cambodian genocide poetry demonstrates both the national history and biography. The poetry has its literature value which is a special feature distinguishing itself from other historiographical works.
The Cambodian genocide poetry is narrative poetry. Like novels and short stories, it has similar components. The theme of the poetry is to condemn the genocide in Cambodia in 1975-1979 caused by Khmer rouge in addition the theme used also has and influence on the plot, which at the same time, has an influence on the name of the poetry, the characters, the setting as well as the narrator of the poetry. All these factors make the story of these 6 pieces of genocide poetry real.
The poets created literary aesthetics by using the technique of representation and language. As regards to the first, it comprises of the use of prosody. Punctuation footnotes, illustration, concrete poetry and epistolary form. The second technique, the technique of language, composes of the selection of words to create phonetic and semantic aesthetics, imagery, figures of speech and symbols. Both techniques enable the audience to appreciate the aesthetics of atrocity.
The Cambodian genocide poetry can be regarded as a historical diary since these pieces of the poetry represent the social representation of the Khmer republic the social representation of the democratic Kampuchea, and the image of Khmer rouge, as well as image of new people. Not only does the poetry help new generations of Cambodian people to learn about the history of the country, but it also helps prevent the history to repeat itself.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด. (ภาษาเขมร))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
ภาษาเขมร
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
383