THE DEVELOPMENT OF CREATIVE PRODUCT DESIGN ABILITY BY PRODUCTIVITY-BASED LEARNING OF EIGHTH GRADE STUDENTS
การพัฒนาความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงผลิตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Author:
Subject:
Date:
10/7/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purposes of this pre-experimental research with the one-shot case study were 1) to study eighth grade students’ creative product design abilities development after the instruction with Productivity-Based Learning. 2) to study the students’ opinions towards the instruction with Productivity-Based Learning.
The sample consisted of 32 eighth grade students from 2/2 class of Nimmanoradee school, Phasi Charoen, Bangkok Province by cluster-sampling. The research instruments used for gathering data were; lesson plans, evaluation from creative product design abilities and questionnaire on opinions towards the instruction with Productivity-Based Learning. The statistical analysis employed were mean (x̄) and standard deviation (S.D.).
The research findings of study were:
1. The development of the eighth grade students’ creative product design abilities after the instruction with Productivity-Based Learning approach were good level.
2. The opinion of the eighth grade students’ towards the instruction with Productivity-Based Learning approach were high agreement level. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง (Pre-Experimental Research) แบบ
The One-Shot Case Study มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ 2) เพื่อศึกษา
ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนวัดนิมมานรดี
สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster-Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพรายวิชาการงานอาชีพ แบบประเมิน
ความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย
(x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้
เชิงผลิตภาพอยู่ในระดับดี
2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพโดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Type:
Discipline:
หลักสูตรและการนิเทศ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
24