พัฒนาการของจิตรกรรมพระมหาชนกชาดกตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน

Other Title:
Evalution of Thai mural paintings since Ayutthaya period until present : Mahajanaka Jataka
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการของจิตรกรรมพระมหาชนกชาดกตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบงานจิตรกรรมแต่ละสมัยประกอบปัจจัยแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานจิตรกรรมเพื่อความเข้าใจในพัฒนาการของจิตรกรรมพระมหาชนกชาดกตามกระบวนการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ เช่น สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รสนิยม แนวความคิด ฯลฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการรูปแบบจิตรกรรมพระมหาชนกชาดกในแต่ละสมัย โดยสามารถแบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ช่วง คือ 1. สมัยอยุธยาตอนต้น – รัตนโกสินทร์ตอนต้น 2. สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ (รัชกาลที่ 4 – 7) 3. สมัยปัจจุบัน เริ่มจากสมัยอยุธยาตอนต้นที่กรุปรางค์วัดราชบูรณะ ซึ่งพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด รูปแบบงานจิตรกรรมยังคงได้รับอิทธิพลทางด้านคติความเชื่อและรูปแบบมาจากลังกาและพม่า ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลายที่พระอุโบสถวัดช่องนนทรี จิตรกรรมพระมหาชนกชาดกมีพัฒนาการทางด้านรูปแบบมากขึ้นจนมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจถือได้ว่าเป็นช่วงที่จิตรกรรมพระมหาชนกชาดกรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด และยังเป็นต้นแบบให้กับจิตรกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นดังเช่น จิตรกรรมที่พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม
หลังจากนั้นช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-5 อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยอย่างมากทำให้แนวความคิดแบบสัจจนิยมแบบตะวันตกเริ่มเข้ามาแทนที่แนวความคิดแบบอุดมคติอย่างไทยโบราณ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ความนิยมเขียนจิตรกรรมที่เกี่ยวกับชาดกลดลงและขาดหายไปช่วงหนึ่งจนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6-7 จึงปรากฏจิตรกรรมพระมหาชนกชาดกอีกครั้งที่พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเป็นจิตรกรรมรูปแบบใหม่คือเป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวเรื่องแบบอุดมคติกับเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งก็สามารถตอบสนองกระแสความนิยมตะวันตกในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาศิลปะตามแบบตะวันตก ศิลปินไทยเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการศิลปะของศิลปินไทยในต่างแดน ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ในปัจจุบันศิลปินมีอิสระในการแสดงออกมากยิ่งขึ้น ดังปรากฏในจิตรกรรมพระมหาชนกชาดกฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบการเขียนจิตรกรรมที่หลากหลายแนวทาง แต่ส่วนหนึ่งก็มีการย้อนกลับไปนำเอารูปแบบงานจิตรกรรมแบบไทยโบราณมาเขียนผสมผสานกับแนวทางการแสดงออกของตนเอง This study focuses on the development of mural paintings of Mahajanaka since Ayuthaya period until present by comparative analyzing the painting’s styles in each period. Historical environment, which can make changes in mural paintings’ styles, is also taken into account in order to understand the development of Mahajanaka jataka following the process of study history of art.
The study finds that historical environment, for example, society, economy, politic, tastes, and beliefs, plays an important role in the development of the styles of Mahajanaka jataka’s mural paintings in each period. As the findings of the study, the development of Mahajanaka jataka’s mural paintings can be divided into 3 main periods : 1. Early Ayuthaya period – early Ratanakosin period, 2. Transition period (Rama 4-7), and 3. Present. The first Mahajanaka jataka’s mural painting is found at Stupa Wat Ratchaburana that is in early Ayuthaya period. Its style was fully influenced by Lanka and Myanmar. Later in late Ayuthaya period the Mahajanaka jaraka’s mural painting at Wat Chongnonsi has developed into having individual style. Thus, this period is likely to be the golden period of Mahajanaka jataka’s mural painting, Moreover, it has influenced mural painting in early Rattanakosin period at Wat Suwannaram.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Spatial Coverage:
วัดราชบูรณะ
วัดช่องนนทรี
วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดช่องนนทรี
วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
321
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ภาพสะท้อนสังคมของกลุ่มชนบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในงานจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ 4-5
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2016)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จำนวนทั้งหมด 5 วัดด้วยกัน คือ วัดมัชฌิมาวาส วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดคูเต่า วัดวัง และวัดวิหารเบิก โดยทำการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบ ... -
สร้างใหม่ของงานจิตรกรรม
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Painting / ศิลปนิพนธ์ - จิตรกรรมType: Thesisสรวิชญ์ บุญทอง (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2017) -
จิตภาวะ
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Painting / ศิลปนิพนธ์ - จิตรกรรมType: Thesisกรรณิการ์ หลินมา (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2017)