Development of Near-infrared spectroscopy method for fructooligosaccharides in functional banana fig syrup
การพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ในไซรัปกล้วยตากเพื่อสุขภาพ

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Functional banana fig syrup (FBS) with fructooligosaccharides (FOS) is a product having more marketing chain in Thailand nowadays. FOS was analyzed via high performance liquid chromatography technique (HPLC), the method was difficult, expensive and spent more time for analysis. The aim of this study, to develop analytical method of FOS via using near infrared spectroscopy technique (NIR) in quality monitoring of FBS. NIR have region 12500-4000 cm-1 (wave number) it was used with modifying spectrum to find an equation via partial least squares regression (PLS) for detect FOS in the syrup sample. The result of prediction was found that coefficients of determination (R2) of sucrose, kestose, nystose and fructofuranosyl nystose were 0.95, 0.98, 0.98 and 0.97, RMSEP were 1.54, 0.51, 0.40, 0.42 and 1.32, RPD were 4.31, 4.47, 5, 4.9 and 4.76 and Bias เท่ากับ 0.49, 0.09, -0.02, -0.02 และ -0.08 ตามลำดับ respectively. This equation can use for prediction and evaluate fructooligosaccharides in functional banana fig syrup. NIR technique was applied for detecting sugar component in functional banana fig syrup
ไซรัปกล้วยตากที่มีฟรุกโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์เป็นผลผลิตที่เพิ่มช่องทางตลาดและส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่เนื่องด้วยวิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฟรุกโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์นั้น สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยเทคนิค high performance liquid chromatography (HPLC) ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษา การพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ด้วยเทคนิคสเปกโตรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ (NIR) เพื่อใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพในผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วยตากเพื่อสุขภาพ โดยเมื่อใช้เทคนิค NIR ที่ช่วงคลื่น 12500-4000 cm-1 และทำการปรับแต่งข้อมูลสเปกตรัมก่อนการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์ร่วมกับการสร้างสมการด้วยเทคนิค partial least squares regression (PLS) พบว่า สมการทำนายปริมาณซูโครส เคสโทส นีสโทส และฟรุกโตฟูเรโนซิลนีสโทส ให้ค่า R2 เท่ากับ 0.95, 0.98, 0.98 และ 0.97 ค่า RMSEP เท่ากับ 1.54, 0.51, 0.40, 0.42 และ 1.32 ค่า RPD เม่ากับ 4.31, 4.47, 5, 4.9 และ 4.76 และค่า Bias เท่ากับ 0.49, 0.09, -0.02, -0.02 และ -0.08 ตามลำดับ โดยสมการดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการทำนายและตรวจวัดปริมาณฟรุกโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์ จากผลดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าเทคนิค NIR สามารถนำมาประยุกต์ในการวิเคราะห์ปริมาณฟรุกโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์ในไซรัปกล้วยตากได้
Type:
Discipline:
เทคโนโลยีอาหาร แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
8