การกัลปานาในจารึกสุโขทัย อยุธยา และธนบุรี-รัตนโกสินทร์

Other Title:
Monastic endowments in the Sukhothai, Ayutthaya and Thonburi-Rattanakosin inscriptions
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องการกัลปนาใน 3 ประเด็นหลัก คือ ความหมายของคำว่ากัลปนา องค์ประกอบของการกัลปนาในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ และที่มาของสิ่งที่กัลปนา โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากจารึก จำนวนทั้งสิ้น 57 หลัก เป็นจารึกสมัยสุโขทัย จำนวน 23 หลัก อายุระหว่างพุทธศักราช 1835-2006 จารึกสมัยอยุธยา จำนวน 19 หลัก อายุระหว่างพุทธศักราช 1917-2310 และจารึกสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ จำนวน 15 หลัด อายุระหว่างพุทธศักราช 2311-2453
การศึกษาพบว่า การกัลปนามี 3 องค์ประกอบ คือ ผู้กัลปนา อันประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสถานภาพต่าง ๆ กันในสังคม มีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง พระสงฆ์ สามัญชน และข้าพระ องค์ประกอบที่สอง คือ สิ่งที่กัลปนา ประกอบด้วยศาสนสถาน ศาสนวัตถุ คน ที่ดิน ไร่ นา สวน รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ องค์ประกอบที่สาม คือ การตั้งสัตยาธิษฐานจากการกัลปนาเพื่อให้ตนเองได้รับความสุขทั้งในทางโลกและทางธรรม
การกัลปนาทั้งสามสมัยมีความสืบเนื่องกัน โดยมีแนวคิดเรื่องการกัลปนามาจากการทำบุญในพระพุทธศาสนา ดังจะพบว่าสิ่งของที่กัลปนาที่พบในแต่ละสมัยตลอดระยะเวลากว่า 600 ปี เหมือนกับที่พบในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา คือ คัมภีร์อปทาน และคัมภีร์วิมานวัตถุ แม้ว่าสิ่งของบางอย่างจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปตามยุคสมัยแต่ยังคงอยู่บนพื้นฐานแนวคิดการกัลปนา
การกัลปนาผูกพันกับวิถีชีวิตของคนหลายกลุ่มในสังคม ทั้งฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ มีโอกาสในสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป บริจาคเงิน ที่ดิน คน และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ ให้แก่วัด ตลอดจนเฉลิมฉลองร่วมกัน ผลอันเกิดจากการกัลปนา นอกจากจะทำให้คนในสังคมมีความสามัคคีกลมเกลียวกันแล้ว ยังทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเพราะทำให้เกิดการซื้อขาย และการจ้างช่างซึ่งส่งผลให้วิชาชีพอันเกี่ยวกับช่าง รวมถึงธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกัลปนา ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การกัลปนาช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดรูปแบบวิถีชีวิตของคนในสมัยสุโขทัย อยุธยา และธนบุรี-รัตนโกสินทร์ The purpose of this thesis is to study the monastic endowments (Kalpana) in 3 aspects : the meaning of the word, the factor of Kalpana in the Sukhothai, Ayutthaya and Thonburi-Rattanakosin, and the origin of objects used in the Kalpana. The study is based on the information from 57 inscriptions. They are 23 Sukhothai inscriptions dating B.E. 1835-2006, 19 Ayutthaya inscriptions dating B.E.1917-2309 and Thonburi-Rattanakosin inscriptions dating B.E.2311-2453.
The study reveals that the Kalpana consists of 3 parts. First, the Donators from different social ranks including King, royal family, nobility, monks, commoners and cleric servants. Second, the Objects including temples, Buddha images, cleric servants, land, rice field, orchard and necessary things. Third, the Vows for physical happiness and spiritual happiness.
The perpetual concept of the Kalpana in the Sukhothai, Ayutthaya and Thonburi-Rattanakosin Period is the merit making in Buddhism over 600 years, the objects offered to the temple are maintained as those in the Buddhist scripture, Apadana and Vimanavatthu, with some minor changes adapted to time.
The Kalpana is related to ways of life of many social groups. The people from all walks of life joined in making merit, such as construction and restoration of temple or Buddha images, donating land, cleric servants and necessary things for the temple etc. and celebrating. The Kalpana them enhanced social unity and active economy system, as the buying and selling of goods and the employment of artisans were increased. Profession and tradition related to the Kalpana have been conserved through this practice. Therefore Kalpana not only maintained the Buddhist precepts but also formed the way of life of Sukhothai, Ayutthaya and Thonburi-Rattanakosin people.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
242