การเชื่อมโยงความในจารึกล้านนา

Other Title:
Cohesion in Lanna inscriptions
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะการเชื่อมโยงความในภาษาระดับข้อความในจารึกล้านนา ข้อมูลที่นำมาศึกษา ได้แก่ คำอ่านจารึกล้านนาที่มีผู้ปริวรรตแล้ว จำนวน 82 หลัก ผลการศึกษาพบว่า กลไกการเชื่อมโยงความในจารึกล้านนามี 5 ประเภท คือ การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึง การเชื่อมโยงความโดยการละ การเชื่อมโยงความโดยการซ้ำ การเชื่อมโยงความโดยการใช้คำสัมพันธ์กัน และการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อม การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึงมี 4 ลักษณะ คือ การอ้างถึงนามวลี การอ้างถึงกริยาวลี การอ้างถึงประโยค การอ้างถึงข้อความ การเชื่อมโยงความโดยการละมี 3 ลักษณะ คือ การละกริยาวลี การละประโยค และการละข้อความ การเชื่อมโยงโดยการซ้ำมี 2 ลักษณะ คือ การซ้ำรูป และการซ้ำโครงสร้าง การเชื่อมโยงความโดยการใช้คำสัมพันธ์กันมี 3 ลักษณะ คือ การใช้คำพ้องความหมาย การใช้คำแย้งความหมาย และการใช้คำลูกกลุ่มของคำจ่ากลุ่มเดียวกัน และการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อมเพื่อแสดงความสัมพันธ์ 9 ประเภท ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน ความสัมพันธ์แบบขัดแย้ง ความสัมพันธ์แบบแสดงลำดับเหตุการณ์ ความสัมพันธ์แบบแสดงเหตุ ความสัมพันธ์แบบแสดงผล ความสัมพันธ์แบบแสดงวัตถุประสงค์ ความสัมพันธ์แบบขยายความ ความสัมพันธ์แบบแสดงเงื่อนไข ความสัมพันธ์แบบต่างตอน และลักษณะการใช้คำเชื่อมมี การใช้คำเชื่อมครั้งเดียว และการใช้คำเชื่อมแบบต่อเนื่อง การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึงมีอัตราความถี่การปรากฏมากที่สุด ส่วนการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อม พบ คำเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน และแบบแสดงลำดับเหตุการณ์มีอัตราความถี่การปรากฏมากที่สุด The purpose of this thesis is to study the cohesive devices in Lanna inscriptions. The data were collected from 82 inscriptions that were read by the epigraphists. From this study, the cohesive devices in Lanna inscriptions can be classified into 5 types, they are, reference, ellipsis, repetition, collocation, and conjunction. There are 4 types of reference, namely, nominal reference, verbal reference, clausal reference and discoursal reference, 3 types of ellipsis, namely, verbal ellipsis, clausal ellipsis and discoursal ellipsis, there are 2 types of repetition which are repetition of words and phrases and repetition of structures. In addition, there are 3 types of collocation : synonymy, antonymy, and superordinate. Lastly, as far as conjunction is concerned, 9 types of relations are found, i.e., concessive relation, contrastive relation, temporal relation, causal relation, relation of result, relation of purpose, additive relation, conditional relation, classifier relation. The use of conjunction may be single or sequential. Reference is the most popular device for cohesion in Lanna Inscriptions. (It appears the most frequent in the inscriptions.) Concessive relation and temporal relation of the conjunction device are also the most common device for cohesion in Lanna Inscriptions.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A. (Thai epigraphy)) -- Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
118